สารบัญ

วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2560

ปั่นตามหาพระนอนกลางแจ้ง แวะเยี่ยมครูสายที่สทิงปุระรีสอร์ท




วันที่ 4 มกราคม 2560   ณ วันที่บันทึกนี้ ครูสาย อายุ 85 ปี 

(ข้อมูลบทความนี้คัดลอกมาจาก  songkhlatoday.com )


ค่ำคืน 24 มิถุนายนที่ผ่านมา ผู้คนเบียดเสียดล้นหลาม เข้าไปยังห้องทองจันทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.)  ชมการแสดงดนตรีไทยเพื่อเสริมสร้างความเป็นไทย เนื่องในวโรกาส สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯพระชนมายุครบ 50 พรรษา  จัดโดย ชมรมดนตรีไทย คณะวิทยาศาสตร์ มอ.

เป็นเรื่องแปลกที่น่ายินดียิ่ง  ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอานิสงส์จากภาพยนตร์เรื่อง "โหมโรง" ที่เชิญ ทวีศักดิ์  อัครวงษ์ เจ้าของเสียงระนาดตัวจริงในภาพยนตร์มาโชว์เพลงโหมรักโหมโรง  ในความมืด  หรือความชื่นชมดนตรีไทยแบบจริงแท้ (...ต้องไม่นับบางคนที่เดินออกในครึ่งชั่งโมงแรก อย่างง่วงนอน หลังจากรอทวีศักดิ์เดี่ยวระนาดในรายการสุดท้ายไม่ไหว)

พูดถึงการสืบทอดดนตรีไทยในภาคใต้ จะไม่พูดบุคคลผู้หนึ่งไม่ได้ เขาผู้นั้นคือ ครูสาย จันทรพัฒน์ ผู้ควบคุมวงในค่ำคืนนั้น

" ครูสาย"  เป็น ครูดนตรีไทยที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในการอบรมสั่งสอนดนตรีไทย จนมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย  คนในแวดวงดนตรีไทยภาคใต้ คงไม่มีใครไม่รู้จักครูสาย

ถ้อยคำกล่าวเปิดงานในวันนั้น รศ.ดร.ประเสริฐ ชิตพงศ์ อธิการบดี ม.อ. จึงกล่าวเชิดชูครูสาย หลายครั้ง และท่านอธิการบดีเองก็เล่าว่า ก็เคยส่งลูกสาวไปฝึกสีซอ กับครูสายมาแล้ว

วันนี้ วัย 73 ปี ครูสายก็ยังทำหน้าที่นี้อยู่อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ครูสาย เกิดที่ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา  บิดาชื่อ โบ้ มารดาชื่อ ขำ  จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่โรงเรียนวิเชียรชมสงขลา ชั้นประถมปีที่ 6 โรงเรียนประชาสงเคราะห์สงขลา  สำเร็จ ประกาศนียบัตรวิชาการดนตรีจาก MUSIC SCHOOL OF SINGAPORE  สำเร็จประกาศนียบัตรวิชาชีพครู จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  และได้รับพระราชทาน ปริญญาครุศาสตร์ บัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขามัธยมศึกษาโปรแกรมวิชาดนตรีศึกษา จากสถาบันราชภัฏสงขลา

เคยเป็นครูสอนดนตรีที่โรงเรียนสงเคราะห์ประชาสงขลา โรงเรียนกลับเพชร และโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา จนเกษียณอายุราชการ

มีบทบาททางดนตรีไทย ที่โดดเด่นยิ่งนอกจากงานสอน ส่งเสริมวัฒนธรรมดนตรีไทย  ทั้งจัดการแสดงดนตรีไทย  ผู้ควบคุมและฝึกซ้อมดนตรีไทย  ทำหลักสูตรการเรียนการสอนดนตรีไทย  เป็นวิทยากรสัมมนาครูดนตรีศึกษา    เป็นผู้คิดแนวทางเทียบเสียงดนตรีไทยประเภทเครื่องสาย ซึ่งส่งผลให้ เป็นไปอย่างถูกต้องและรวดเร็ว  จนได้รับคำชมเชยจาก รศ.นพ.พูนพิศ อมาตยกุลว่าเป็นวิธีการที่ดีเยี่ยม    เป็นนักประพันธ์เพลง จำนวนมากอีกด้วย  ผลจากการทำงาน ...ทำให้ได้รับรางวัลมากมาย  เช่น ได้รับโล่เกียรติยศ ผู้บำเพ็ญประโยชน์ อย่างยิ่งต่อมหาวิทยาลัย ในฐานะผู้มีผลงานสร้างสรรค์ และส่งเสริมดนตรีไทยในจังหวัดสงขลา  จาก มอ. ,เกียรติบัตรครูสอนดนตรีไทยดีเด่น จาก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา ปี 2529และ2530 , ได้รับโล่พระราชทาน จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในฐานะครูผู้บุกเบิกดนตรีไทยในภาคใต้ และเป็นผู้ให้การสนับสนุนงานดนตรีไทยอุดมศึกษา ครั้งที่ 21  ได้รับเกียรติบัตรการเข้าร่วมกิจกรรมศิลปวัฒนธรรมของกลุ่มอาเซียนจาก มหาวิทยาลัยอุตระ มาเลเซีย ฯลฯ

ระยะเวลาที่ยาวนานตั้งแต่หนุ่มอาจารย์สายเป็นผู้อุทิศตัวให้ดนตรีไทยมาตลอด... ครูสาย เคยเล่าให้ฟังถึงความมุมานะหลายประการ ... อย่างตอนนั้นไปเป็นอาจารย์พิเศษ ดนตรีไทย รุ่นบุกเบิกของโรงเรียนมหาวชิราวุธ  มีการสอนวิชานี้ขึ้นมา และมีการสอน  ตอนนั้น ยังไม่มีห้องดนตรีไทย ต้องอาศัยที่เขาอยู่  เครื่องดนตรีก็ยังไม่ค่อยมี เที่ยวหา เที่ยวยืม

"พอถึงวันศุกร์ สอนที่สงขลาเสร็จ ผมจะขับรถมอเตอร์ไซด์ฮอนด้า 500 ซีซี ไปปัตตานี  สมัยนั้นใช้เวลาราว ชั่วโมงครึ่ง ส่วนมากจะไปกับเพื่อนอีกคน ที่ไปสอนที่โรงเรียน
เดชะปัตยานุกูล เขาก็มีรถเครื่องเหมือนกัน ฮอนด้าเหมือนกัน ปกติสอนที่สงขลาเสร็จ 4-5 โมงก็ออกแล้วพอค่ำก็ถึง จำได้ว่า ไปตามเส้นทางบ้านขุนทอง จะนะ นาทวี ลำไพล
โคกโพธิ์ สายเก่า ไปเข้าทางเก่า ตอนนั้นไม่มีปัญหาอะไร ก็ไม่เคยมีอะไรเกิดขึ้นกับเรา
ที่จำได้มีเพียงครั้งที่รถเกิดอุบัติเหตุเสียหลัก พอสอนค่ำวันศุกร์สอน เสาร์สอน
พออาทิตย์สอนอยู่ครึ่งวันก็กลับ  นอนคืนศุกร์ -เสาร์ กลับวันอาทิตย์ก็ได้เถลไถลไปตามทางบ้าง ก็กลับมาถึงสงขลาตอนค่ำ"

ท่านเล่าว่า ชีวิตตรงนั้นวัยยังทำงาน ตัวเองจะชอบทำงานมาก  ด้วยความรักในดนตรี ดนตรีมันพาไป  มีความสนใจมาตลอด ประกอบกับเองก็มีความถนัดทั้งดนตรีไทยและสากล  โดยเฉพาะดนตรีไทยนั้นบ่มเพาะมาตั้งแต่เด็ก

"เริ่มมาจากตัวเล็ก 5-7 ขวบ เที่ยวไปดูเขาเล่น ตอนนั้นกรมหลวงลพบุรีราเมศวร์อยู่ที่ตำหนักเขาน้อย ขณะที่มาตรงนั้น เขาก็มี ข้าราชบริพาร ติดตามมาด้วย ส่วนหนึ่งคือจะมีนักดนตรีมาด้วย นักดนตรีจะตกอยู่ที่ตำบลแม่ลาด" บ้านแม่ลาดที่ว่าอยู่แถวสิงหนคร ในปัจจุบัน

ครูสายเกิดที่สงขลา บ้านอยู่สงขลา แม่เป็นคนมาจากเมืองใน ยายมาพร้อมกับกรมหลวงลพบุรีฯมาอยู่ที่เขาน้อยฯ ยายของท่านเป็นแม่ครัว ในตำหนักเขาน้อย  ยายมีลูกสองคนคนหนึ่งชื่อขำ กับขาว เป็นฝาแฝด ที่นี้ ปกติตอนที่แม่(ขำ) เล็กๆ เมื่อพระชายาของกรมหลวงลพบุรีรามเมศวร์ จะเดินทาง ไปไหน มักจะให้นั่งหน้ารถไปด้วยเพราะเป็นเด็กที่น่ารัก

"ช่วงหลังแม่ได้แต่งงานกับพ่อที่เป็นช่างรับเหมาก่อสร้าง ที่เข้าไปทำตำหนักเขาน้อย ก็รู้จักและแต่งงานกัน ครู เองมีพี่น้อง 9 คน ก็ได้รู้จักคนในตำหนัก ตรงนั้น กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์สิ้นพระชมน์ไปแล้ว บริพารยังตกค้างอยู่สงขลาเยอะ มี พระ ขุน หลวง อะไร เหล่านี้ คนเหล่านี้ มีบ้านอยู่ในเมืองสงขลา เขาก็รวมกลุ่ม กับคนที่เล่นดนตรีในท้องถิ่น อะไรแบบนี้ ตอนนั้นครูเป็นเด็ก  บ้านครูอยู่ในสงขลา เขามีบ้านอยู่ริมทางรถไฟ  แถวถนนเพชรคีรี  พอรู้กิตติศัพท์ว่าเขาเล่นดนตรีถึงเรา ไปเห็นเขาเล่น ด้วยความชอบก็ไปยืนฟัง เขา ยืนไปยืนมา มันค่อยเข้าไปสนิทสนม เขาเรียกเข้าไปในบ้าน เข้าไปในวง เขาก็ถามว่าชอบหรือ  เราบอกว่าก็ชอบ แล้วก็ไปแอบฟังทุกวัน"

นับจากวันนั้นมาครูสายกับดนตรีไทยก็แยกกันไม่ออก และยังอบรมสั่งสอนดนตรีไทยให้คนรุ่นใหม่ จากรุ่นสู่รุ่นมากระทั่งปัจจุบัน ไม่ขาดสาย ..หลังเกษียณ จากโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา ครูสายยังสอนดนตรีไทยในสถาบันการศึกษาหลายแห่ง  ควบคู่ไปกับการทำธุรกิจส่วนตัวคือ ทำรีสอร์ท ชื่อ สทิงปุระรีสอร์ท ที่อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา

+++++++++++++++++ "ขุนอิน"โชว์ที่ ม.อ.

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ. ) ร่วมกับ  คณะวิทยาศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์  และ สอ.มอ. ขอเชิญร่วมงานหล่อเทียนพรรษา และสมโภชเทียนพรรษาปรำปี 2548 ในวันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม 2548 ตั้งแต่เวลา 15.00 น. ที่ลานจอดรถหน้าคณะวิทยาศาสตร์ โดยในเวลา 18.00 น. จะได้ชมการแสดงการเดี่ยวระนาดเอก ของอาจารย์ณรงฤทธิ์ โตสง่า หรือ ขุนอิน จากภาพยนตร์เรื่องโหมโรง  นอกจากนั้นจะมีกิจกรรมประกวดตกแต่งต้นเทียนพรรษา  การประกวดร้องเพลงคาราโอเกะ  และกิจกรรมสอยดาวมหากุศล  รายได้สมทบทำบุญถวายเทียนพรรษ 9 วัด


ข้อมูล  songkhlatoday.com/



















































































































































































































รอแปบ มีเรื่องราวเพิ่มเติมให้









ไม่มีความคิดเห็น:

Hatyai Car-free day 2020

หาดใหญ่ คาร์ฟรีเดย์ 22 กันยายน 2563