สารบัญ

วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

จักรยานในสนามรบ

เรื่องโดย นาวาโทหญิงปานะรี คชโคตร



จักรยานกับงานภาคสนาม
นาวาโทหญิง ปานะรี คชโคตร


จากการที่ผู้เขียนได้เข้ารับ การศึกษา หลักสูตรนายทหารอาวุโส ที่โรงเรียนนายทหาร อาวุโส สถาบันวิชาการทหารเรือชั้นสูง เมื่อ เมษายน ๒๕๔๘ ทำให้ผู้เขียนได้มีโอกาสศึกษา ค้นคว้าเรื่องที่สนใจอยู่หลายๆ เรื่อง หนึ่งในนั้นก็มีเรื่องของการนำรถจักรยานมาใช้งานภาค สนาม ในกองทัพ ดังที่จะนำเสนอต่อไปนี้ 
ผู้เขียนได้รวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมทั้งในหนังสือและในอินเทอร์เน็ต ยิ่งพบว่าเป็นเรื่องที่ ี่น่าสนใจมากเพราะสถานการณ์ปัจจุบันราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวด เร็วเป็นสัญญาณ เตือนภัยที่ควรระวังและเตรียมพร้อมรับมือกับวิกฤตที่กำลังจะเกิดขึ้นอย่าง หลีกเลี่ยงไม่ได้กอง กำลัง ทหารที่ไม่ต้องพึ่งพาน้ำมัน จึงเป็นเรื่องที่ น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง




ตารางเปรียบเทียบให้เห็นถึงคุณประโยชน์ของการใช้รถจักรยาน

ประเภทของพาหนะน้ำหนักบรรทุก (กก.)ระยะทางที่ได้ (กม./ซม.)ความเร็ว (กม./ ซม.)
ความสิ้นเปลือง/คน/วัน
พลเดินเท้า๒๒.๖๘๔๐.๒๓๔.๘๓เสบียง ๑.๓๖ กก.
ออกซิเจน ๑๐.๘๙ กก.
รถจักรยานยนต์๔๕.๓๖๑๖๐.๙๓๖๔.๓๗
เสบียง ๑.๓๖ กก.
ออกซิเจน ๑๑.๓๔ กก.
เชื้อเพลิง ๒๔.๕๕ กก./ น้ำมัน+ถังสำรอง
รถจักรยาน๒๒.๖๘๑๒๐.๗๐๑๖.๐๙เสบียง ๑.๓๖ กก.
ออกซิเจน ๑๑.๓๔ กก.

จากตารางเปรียบเทียบด้านบนจะพบว่าถึงแม้การใช้รถจักรยานยนต์จะได้ระยะทาง น้ำ
หนักบรรทุกและความเร็วที่เหนือกว่า รถจักรยานทุกอย่างแต่เมื่อดูอัตราความสิ้นเปลืองจะเห็น
ว่าต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิง และจำเป็นต้องมีน้ำมันสำรอง ดังนั้นหากน้ำมันหมดหรือหาที่เติมน้ำ มันไม่ได้ รถจักรยานยนต์ ก็จะกลายเป็นภาระของผู้ขับขี่ทันที 
ในขณะที่การใช้รถจักรยานจะสามารถทำระยะทางได้มากกว่าประมาณสามเท่า และ เร็ว กว่าเกือบสี่เท่าของการเดินด้วยเท้า อีกทั้งง่ายต่อการบำรุงรักษา ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำมัน และไม่ ต้องยุ่งยากหาจุดเติมน้ำมันอีกด้วย และด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันทำให้รถจักรยาน มี น้ำหนักเบามากบางคันมีน้ำหนักแค่ ๑๓.๕๕ กิโลกรัม สามารถพับจากขนาดปกติเป็นขนาด พกพา(๓�x๓�x๑') โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือ ได้ภายในเวลา ๓๐ วินาที จึงสะดวกในการบรรทุก ขนย้ายไม่ว่าจะ ด้วยรถบรรทุก รถไฟ หรืออากาศยาน และง่ายต่อการนำติดตัวในขณะโดดร่ม
่อีก ด้วย ที่สำคัญคือ มีอัตรา ความปลอดภัยสูงต่อการใช้เพื่อเคลื่อนที่ในพื้นที่ที่มีกับระเบิด ซึ่ง มักตั้งน้ำหนักไว้สำหรับ ดักคนหรือรถถังเท่านั้น หากใช้รถจักรยานแทนก็จะมีการถ่ายเทน้ำ หนักไปที่ล้อหน้าและ ล้อหลัง น้ำหนักจึงไม่ตรงกับที่ข้าศึกตั้งกับระเบิดดักไว้





แทบไม่น่าเชื่อว่าประเทศที่ได้ชื่อว่ามีอาวุธยุทโธปกรณ์ทันสมัย ไฮเทคอยู่ชั้นแนวหน้า เช่น สหรัฐ ฯ สหราชอาณาจักร สมาพันธรัฐสวิส และญี่ปุ่น ได้มีการใช้รถจักรยานในงานภาค สนามของกองทัพตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบันนี้ 
เริ่มตั้งแต่สหราชอาณาจักรมีการให้พลทหารราบใช้รถจักรยาน ๒ ล้อ ในการปฏิบัติ งานตั้งแต่ต้นปี พ.ศ.๒๔๓๑ อีก ๘ ปีต่อมา (พ.ศ.๒๔๓๙) สหรัฐ ฯ ได้จัดตั้งหน่วยรถจักรยาน ขึ้นเพื่อใช้ในสงคราม สเปน-อเมริกา ใช้ชื่อว่า Buffalo Soldier Unit สังกัดหน่วย 25th Infantry Bicycle Corps และยังพบว่ามีอัตราการเพิ่มการใช้รถจักรยานในกองทัพสหรัฐฯ จาก ๑๗,๐๐๐ คัน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๑ เป็น ๖๐,๐๐๐ คัน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ และในช่วงสงครามเวียดนามกองทัพสหรัฐฯ ได้ใช้รถจักรยานเป็นพาหนะอันดับต้น ๆ ในการ เดิน ทางทั้งในเวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ 
ยิ่งไปกว่านั้นในปัจจุบันนี้กองทัพของสมาพันธรัฐสวิสยังได้นำรถจักรยานมาใช้ในกรม
ทหารราบรถจักรยาน (Regiment of Bicycle Infantry) ถึง ๕ หน่วยอีกด้วย โดยเริ่มก่อตั้ง
เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๕ กำลังทหารสองล้อนี้เป็นกำลังสำคัญหน่วยหนึ่งในการป้องกันประเทศ ใน บริเวณที่ราบสูง เชิงเทือกเขาแอลป์ที่มีชายแดนยาว ๓๐๐ กิโลเมตร ของ สมาพันธรัฐสวิส ใน กรณีที่ถูกรุกรานจากนอกประเทศ กำลังทหารสองล้อนี้จะทำหน้าที่เป็นหน่วยกองโจรคอยชะลอ หรือหยุดยั้งการรุกคืบ ของกำลังทหารข้าศึก ลาดตระเวนและหาข่าว ต่อต้านรถถัง เป็นต้น        เนื่องจากเป็นหน่วยที่ปฏิบัติ งานได้อย่างเงียบ ๆ มีความคล่องตัวในการเคลื่อนที่ และ สามารถบรรทุกยุทธสัมภาระ ได้โดยไม่ จำเป็นต้องเติมเชื้อเพลิง ระหว่างทางกองกำลัง เหล่า นี้จึง เหมาะ อย่างยิ่งต่อการ ลาดตระเวนระยะไกลนอกเหนือจากภารกิจในการป้องกัน ประเทศ ในยามสงครามแล้วกำลังทหารหน่วยนี้ยังได้ หมุนเวียนไปให้การสนับสนุนรัฐบาลกลางในฐานะ ชุด ตอบโต้-จู่โจมเคลื่อนที่เร็วเสริมกำลังตำรวจ ใน การ รักษาความปลอดภัยในนคร เจนีวา และเมืองใหญ่ ๆ ของสมาพันธรัฐ สวิสด้วยนอกจากนี้ยัง มีการใช้ในประเทศที่พัฒนา แล้วอีก หลายประเทศถ้ามีโอกาสผู้เขียนจะค้นคว้ามาเล่าสู่กันฟัง เพิ่ม เติมต่อไป
บรรณานุกรม
http://en.wikipedia.org/wiki/bicycle infantry
คอมมานโดสองล้อแห่งสวิสเซอร์แลนด์. สมรภูมิ. มี.ค.๔๕           
เครดิต-- นาวิกศาสตร์ ISSN 0125-4324  ปีที่ ๘๙ เล่มที่๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๙   http://www.navy.mi.th/navic/document/890803a.html

ไม่มีความคิดเห็น:

Hatyai Car-free day 2020

หาดใหญ่ คาร์ฟรีเดย์ 22 กันยายน 2563