สารบัญ

วันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2556

วิธีการเสริมแรงจูงใจให้ใช้จักรยาน







วิธี ส่งเสริมการขี่จักรยาน(31 Ways You Can Promote Bicycling)

แปลจาก “http://www.bicyclealliance.org/resources/promote.htm”

ท่านจะทำอย่างไรเพื่อส่งเสริมให้คนขี่จักรยาน

การสร้างทางจักรยานเป็นสิ่งสำคัญแต่เป็นงานของภาครัฐ และมักจะเกินความสามารถของเอกชนหรือสถาบัน คำถามก็คือ บุคคลทั่วไปสามารถทำอะไรบ้างเพื่อส่งเสริมการขี่จักรยาน คำตอบมีถึง 31 ประการ วิธีการเหล่านี้ไม่ใช่ว่าจะต้องทำทุกๆรายการหรือจะใช้ได้ผลในทุกสถานการณ์ บางวิธีก็จะได้ผล หากได้ทำตามขั้นตอนอื่นมาก่อนแล้ว

1. คณะกรรมการหรือที่ปรึกษาเรื่องการขี่จักรยานที่ ปรึกษาจะช่วยทำแผนการเพื่อส่งเสริมการขี่จักรยาน โดยการให้ความคิดเห็นที่อาจเป็นไปได้และสนับสนุนทำให้แผนการนั้นเป็นจริงและ ติดตามประเมินผลคณะ กรรมการอาจจะเป็นชมรมที่ร่วมกันขี่จักรยานเพื่อสันทนาการ หน่วยงานนี้จะเป็นประโยชน์ต่อองค์กรในหลายๆ ด้าน รวมทั้งการแนะนำให้ประชาชนนึกถึงจักรยาน เป็นอีกทางเลือกหรือในการเดินทาง คณะที่ปรึกษาอาจจะเป็นผู้ประสานงานกับกลุ่มคนต่างๆ ที่มีความสนใจร่วมกัน เช่น ประเด็นเกี่ยวกับจักรยานก็อาจเป็นสิ่งน่าสนใจสำหรับคนเดินถนน ,คนพิการ,เด็กๆและผู้ปกครอง ,นักกีฬา ,นักวิ่ง ,ชมรมผู้ขี่จักรยานที่มีอยู่แล้วและชมรมนักขี่ม้าสมาชิกในกลุ่มที่ปรึกษาควรจะเป็นคนในองค์กรและการทำงานของคณะที่ปรึกษาควรได้รับการสนับสนุนจากผู้นำขององค์กรนั้นๆ

2. บุคคลที่จะเป็นตัวเชื่อมระบุตัวบุคคลในองค์กรที่จะเป็นผู้รับผิดชอบในการก่อตั้งคณะกรรมการเกี่ยวกับการขี่จักรยาน รวมทั้งเป็นผู้ให้คำแนะนำแก่คณะกรรมการต่างๆ

3. การปรับปรุงและประเมินเส้นทางขี่จักรยานตรวจดูเส้นทางจักรยานภายในบริเวณองค์กร สำรวจถึงระยะทางและพิจารณาดูถึงความสะดวกและความปลอดภัย ระบุเส้นทางที่ดีและเส้นทางที่มีปัญหา กำหนด ว่ามีบริเวณใดต้องทำความสะอาดเพิ่มขึ้น ซ่อมทางหรือซ่อมผิวจราจรของถนน ดำเนินการปรับปรุงโดยทำงานร่วมกับฝ่ายรัฐ บางครั้งอาจต้องขอรับเงินสนับสนุนจากทางราชการมาใช้ในการทำงาน

4. แผนที่ทางจักรยานพิมพ์ แผนที่ในบริเวณใกล้เคียงที่ระบุเส้นทางที่แนะนำและควรเลี่ยง ให้ข้อมูลเกี่ยวกับรถเมล์รวมบนแผนที่ จะช่วยให้ง่ายแก่ผู้ใช้รถจักรยานและรถเมล์ด้วยกัน รวมทั้งข้อมูลอื่นๆ ที่อาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ขี่จักรยาน

5. แผ่นพับเกี่ยวกับการขี่จักรยานแจกจ่ายแผ่นพับ คู่มือและเคล็ดการขี่จักรยานให้ปลอดภัยแก่ประชาชนที่เข้ามาติดต่อกับองค์กร รวมทั้งแนะนำเส้นทางจักรยานมายังองค์กรนั้น, การเดินทาง, การดูแลให้ปลอดภัย, กฎจราจร, ที่จอดรถ, ห้องน้ำ อาจให้ข้อมูลเกี่ยวกับชมรมจักรยานขององค์กร การจัดขี่จักรยานที่ทำอยู่ ตลอดจนข้อมูลเกี่ยวกับคณะกรรมการที่ปรึกษาเกี่ยวกับการขี่จักรยาน

6. ให้ความรู้แก่ผู้ขับรถยนต์ให้ ข้อมูลแก่ผู้ขับรถยนต์ชนิดอื่นๆ ว่าจะใช้ถนนร่วมกับจักรยานให้ปลอดภัยได้อย่างไร เพื่อให้ผู้ใช้ถนนอื่นๆ ปฏิบัติต่อผู้ใช้จักรยานถูกต้องตามสิทธิทางกฎหมาย

7. ส่งเสริมการขี่จักรยานแจกจ่ายโปสเตอร์, เข็มกลัด, เต็นท์การ์ด ตามโต๊ะอาหารในโรงอาหาร ในองค์กรที่มีจดหมายเวียนภายใน ประชาสัมพันธ์ให้คนรู้ถึงคำมั่นสัญญาที่มีต่อความรับผิดชอบต่อสภาวะแวดล้อม ขององค์กร

8. เอกสารในการปฐมนิเทศน์ในการปฐมนิเทศน์ พนักงานใหม่, นักศึกษา, นักเรียน หรือลูกค้าขององค์กร ให้เอกสารที่สนับสนุนการใช้รถจักรยานแก่ผู้เข้ารับการปฐมนิเทศน์

9. แจกข่าวออกข่าวเกี่ยวกับโครงการจักรยาน และเชิญสื่อมวลชนมาดูกิจกรรมที่ได้ทำไป

10.ที่จอดจักรยาน สำรวจ ที่จอดรถจักรยานว่าสะดวก เหมาะสมปลอดภัยในตอนกลางคืน มีไฟส่องสว่าง มีหลักสำหรับล็อคจักรยานเพียงพอ มีที่เก็บสัมภาระให้หรือไม่ หากมีที่เก็บสัมภาระ ตู้เหล่านั้นได้ระบุชื่อผู้ใช้ไว้เรียบร้อยหรือไม่พิจารณา ว่าควรจะเพิ่มบริเวณที่จอดจักรยานโดยลดขนาดที่จอดรถลง การลดบริเวณที่จอดรถยนต์ อาจจะทำให้คนหันมาขี่จักรยานมากขึ้นหรือลดขนาดที่จอดรถยนต์ลงเพื่อนำไปใช้ งานอื่นที่อาจสร้างรายได้ในองค์กร

11.การขยายอาคารที่ทำงานหาก องค์กรมีนโยบายขยายอาคารสถานที่ ดูแผนโดยรวมว่าได้คำนึงถึงการขี่จักรยาน ให้คำแนะนำเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกใหม่ๆ สำหรับคนขี่จักรยาน

12.ห้องน้ำและตู้เก็บสัมภาระสำรวจ สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ขี่จักรยานที่มีอยู่ ระบุสถานที่มีห้องอาบน้ำ ตู้เก็บของตามหน่วยงานต่างๆ และที่องค์กรที่อยู่ใกล้เคียง บอกด้วยว่าสิ่งเหล่านั้นให้ความสะดวกจริงหรือไม่ ตำแหน่งที่ตั้งอยู่ปลอดภัยในยามวิกาลหรือไม่ ตู้เก็บของสามารถบรรจุเสื้อผ้าได้ตามสมควรหรือไม่ มีห้องสำหรับเก็บถุงข้างจักรยานหรือไม่ ตู้เก็บของเหล่านี้ควรจะเพียงพอแก่ผู้ใช้จักรยานทุก ๆ คนโดยแต่ละคนจะมีพื้นที่ใส่เสื้อผ้าไว้เปลี่ยนได้โดยสะดวก และยิ่งไปกว่านั้นหากสามารถจะมอบให้ใช้ถาวรโดยระบุชื่อไว้ ก็จะยิ่งทำให้คนสนใจจะใช้จักรยานมากขึ้น กำหนดให้สิ่งอำนวยความสะดวกที่มีอยู่ ให้บริการในเวลาเหมาะสมด้วยคาด การณ์ปริมาณความต้องการใช้ห้องอาบน้ำและตู้เก็บของ หาจุดหมายของคนที่ใช้จักรยานว่ามักจะไปที่ใด ห้องน้ำ และตู้เก็บของอยู่ใกล้จุดหมายเหล่านั้นหรือไม่ ตรวจดูว่าห้องน้ำและตู้เก็บของควรได้รับการซ่อมแซม ปรับปรุงตามที่ควรจะทำ

13. กฎให้เงินจูงใจหรือไม่จูงใจพิจารณา นโยบายการเดินทางของบุคคลที่มีอยู่ บางองค์การจ่ายค่าเดินทางหรือให้ผลประโยชน์แก่คนที่ขับรถ ใช้รถร่วมกัน ขึ้นรถเมล์หรือขี่จักรยาน ตัวอย่างเช่น จ่ายค่าที่จอดรถให้ ให้ส่วนลดตั๋วรถเมล์ ส่วนลดในการซื้อสินค้าสำหรับผู้ใช้รถร่วมกัน ให้เงินสนับสนุนการใช้รถร่วมกันมาทำงาน ให้เวลาหยุดเพิ่มแก่คนที่จัดการการใช้รถร่วมกันเพื่อชดเชยเวลาในการจัดการ การใช้รถร่วมกัน มีบริษัทใน California ให้เวลาพักแก่ผู้ขี่จักรยานมาทำงานเป็น 2 เท่า ของคนขับรถร่วมกันเพราะการขี่จักรยานต้องใช้เวลามากกว่าพัฒนาและแนะนำให้ผู้ ขี่จักรยานได้รับผลประโยชน์ซึ่งอย่างน้อยก็ให้เท่ากับคนที่ใช้ระบบขนส่งแบบ อื่น ที่ดีที่สุดควรจะได้ผลตอบแทนเป็นตัวเงิน

14. อำนวยความสะดวกในการซ่อมจักรยานหาที่รับซ่อมจักรยานที่อยู่ใกล้องค์กรมากที่สุด พิจารณาว่าควรจะมีที่ซ่อมจักรยานอยู่ในบริเวณขององค์กรเองหรือไม่

15.อบรมเชิงปฎิบัติการจัดการ อบรมอย่างสม่ำเสมอเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัย ทางเลือกวิธีเดินทางมาทำงานและการดูแลรักษาจักรยาน วิทยากรหรือผู้จัดการอบรมควรเป็นคนในองค์กรนั้น, ผู้สอนเกี่ยวกับจักรยานมืออาชีพ, อาสาสมัครจากชมรมจักรยานต่างๆ หัวข้อของการอบรมอาจรวมถึง ข้อมูลด้านความปลอดภัย, การเลือกเส้นทางขี่จักรยาน, เสื้อผ้า, การป้องกันการถูกโจรกรรม การใช้จักรยานร่วมกับรถเมล์ ประโยชน์ของการขี่จักรยานต่อสุขภาพและพลานามัย การขี่จักรยานกับกิจกรรมทางสังคมการจัดอบรมนี้อาจจะจัดรวมกับงานนิทรรศการเกี่ยวกับการเดินทางซึ่งสนับสนุนโดยองค์การขนส่งมวลชนต่าง ๆเพื่อ จูงใจให้คนสนใจเข้ารับการอบรม พนักงานขององค์กรอาจจะได้รับเบี้ยเลี้ยงในการ อบรม ลูกค้า นักเรียน นักศึกษา หรือบุคคลภายนอกองค์กรอาจจะให้เป็นบัตรกำนัลหรือบัตรส่วนลดของร้านขาย จักรยานในท้องถิ่น

16. ปรับปรุงบัตรแสดงความคิดเห็น จัด ให้มีบัตรแสดงความคิดเห็นเพื่อได้รู้ข้อมูลจากพนักงาน หาข้อมูลว่าการจัดการส่งเสริมที่ได้ทำไปแล้วนั้น มีผลต่อพนักงานอย่างไรบ้างและเพื่อจะรับฟังข้อเสนอเพื่อปรับปรุงการส่งเสริม การขี่จักรยานนี้ให้ดียิ่งขึ้น

17. ตำแหน่งอย่างเป็นทางการ สนับ สนุนโดยตั้งตำแหน่งเป็นทางการให้คณะกรรมการที่ปรึกษา หรือพนักงานที่ทำงานเกี่ยวกับประเด็นทางสังคม ซึ่งมีผลกระทบต่อองค์กร แต่การจัดการหรือแก้ไขประเด็นเหล่านั้นอยู่นอกเหนืออำนาจและความรับผิดชอบ ขององค์กร ประเด็นเหล่านี้อาจจะเป็นเส้นทางจักรยาน การใช้ประโยชน์ที่ดินในท้องถิ่น การปรับปรุงถนน การให้บริการรถเมล์ และการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เป็นต้น

18. สายด่วนให้ความช่วยเหลือ จัด ตั้งสายด่วนเพื่อให้ความช่วยเหลือและส่งต่อผู้เกี่ยวข้องสำหรับประชาชนที่ สนใจที่จะมาร่วมขี่จักรยาน รายชื่ออาสาสมัครซึ่งสามารถให้คำแนะนำข้อมูลควรรู้ในการเดินทางโดยจักรยน เช่น เส้นทางที่เหมาะสม เครื่องแต่งกาย หรือ ข้อมูลอื่นๆ ให้บริการเพื่อนคู่ปั่นเพื่อช่วยผู้ขี่จักรยานมือใหม่ ระบุเส้นทางเดินทางทุกเส้นบนแผนที่ใหญ่ของท้องถิ่น แผนที่นี้จะช่วยให้การนัดพบและการขี่จักรยานไปด้วยกันเป็นไปได้โดยง่าย เข้าสนับสนุนพอสมควรจะเป็นการจูงใจให้ผู้อยากเริ่มขี่จักรยานรายไหม่ๆ มีผู้อาสาขี่เป็นเพื่อนกัน ทำให้คนที่เริ่มสนใจขี่จักรยานไม่ท้อถอยไปเสียก่อน เพราะต้องขี่จักรยานตามลำพัง พิจารณาเพื่อร่วมมือกับชมรมจักรยานในท้องถิ่น

19. จัดวันขี่จักรยานไปทำงาน จัดวันขี่จักรยานไปทำงาน การทำเช่นนี้จะเป็นโอกาสที่จะเผยแพร่คำแนะนำ และข้อมูลเกี่ยวกับทางเลือกในการเดินทาง

20. มีรถให้ยืมใช้ จัดให้มีรถยนต์สำหรับผู้ขี่จักรยานได้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน หรือเมื่อมีความจำเป็นต้องใช้จักรยาน

21. ศูนย์รับเลี้ยงเด็ก จัด ศูนย์เด็กเล็กเพื่อให้ความสะดวกแก่พนักงานเพื่อให้ทางเลือกในการงานได้ง่าย ขึ้น การที่ศูนย์เด็กเล็กอยู่ไกลจากที่ทำงาน อาจทำให้ผู้ปกครองไม่อยากขี่จักรยานมาทำงาน

22. การประกันสุขภาพ ให้ เงื่อนไขการประกันสุขภาพแก่ผู้ขี่จักรยานดีกว่ากรมธรรม์แบบอื่นๆ ซึ่งอาจจะเป็นการเพิ่มผลประโยชน์ ลดเบี้ยประกัน หรือลดค่าใช้จ่ายของส่วนผู้เอาประกันต้องรับผิดชอบ โดยวิธีการแบบนี้ควรจะมีให้แก่ผู้ไม่สูบบุหรี่เช่นกัน

23. การให้รางวัล รางวัลสำหรับพนักงานดีเด่น, รางวัลตอบแทนลูกค้า หรือให้แก่นักเรียนควรให้เป็นรถจักรยานหรืออุปกรณ์ เครื่องใช้ที่เกี่ยวกับการขี่จักรยาน เสื้อสะท้อนแสง, ไฟฉายสวมศรีษะ, กระจกหรือหมวกนิรภัยที่สลักชื่อผู้รับและมีเครื่องหมายขององค์กรเป็นรางวัล ที่แสดงถึงการส่งเสริมและสนับสนุนการขี่จักรยานและแสดงถึงความห่วงใยในความ ปลอดภัยของผู้รับ

24. ทัศนคติ จัดให้มีการแสดงออกถึงทัศนคติต่อการขี่จักรยานในองค์กร หัวข้อควรจะรวมถึงการขี่จักรยานกับความตั้งใจจริงและความเป็นมืออาชีพ, ความเพลิดเพลินในการขับรถและอุปสรรคทางจิตวิทยา โดยมากคนทั่วไปมักมีความคิดที่ทำให้เป็นข้อจำกัด เช่น ไกลเกินไป, อายุมากเกินไป, สุขภาพไม่ดี, ขี้เกียจ, ต้องเอาเด็ก/สุนัขไปด้วย, ไม่ชอบที่จะต้องเปลี่ยนเสื้อผ้า, ฝนตก, อันตราย, กินเวลามากเกินไป ในบางกรณีทัศนคติเช่นนั้นอาจจะเป็นข้อจำกัดจริงๆ ในขณะที่บางกรณีเป็นเพียงข้ออ้างเพื่อจะแก้ตัวเท่านั้น

25. กองจักรยาน จัดตั้งกองจักรยานตามแบบการใช้รถยนต์ร่วมกันที่องค์กรหลายแห่งมีอยู่แล้ว พนักงานสามารถเบิกรถจักรยานไปใช้ในงานของบริษัท (เมือง Seattle และ Kingcounty ได้ริเริ่มกองจักรยานแบบนี้) รถ จักรยานเหล่านี้อาจเป็นหลักประกันสำหรับโครงการรถกลับบ้าน หากผู้ที่ร่วมโครงการใช้รถร่วมกันพลาดรถร่วม ก็จะใช้รถจักรยานขี่กลับบ้านได้

26. จักรยานให้ยืม โครงการให้ยืมหรือให้เช่าซื้อจักรยานภายในเวลาที่กำหนดไว้ เช่น 30 วัน, 90วัน วิธีนี้จะช่วยให้คุณลองขี่จักรยานไปทำงานโดยที่ยังไม่ต้องมีรถ โครงการนี้อาจทำเป็นให้ยืมหรือเช่าซื้อ โดยสามารถเลือกที่จะซื้อรถภายหลังได้ เมื่อต้องการและจัดขายให้ได้ในราคาพิเศษ

27. นักขี่จักรยานตกค้าง จัดทำแผนการช่วยเหลือคนขี่จักรยานในกรณีที่จักรยานเสียกลับบ้านไม่ได้

28. ให้รางวัลคนขี่จักรยานมาทำงาน จัดให้มีการจับฉลากเพื่อแจกรางวัลแก่คนที่ปกติจะขี่จักรยานมาทำงาน

29. ส่วนลด ติดต่อร้านขาย/ซ่อม จักรยานในท้องถิ่นเพื่อขอส่วนลดให้ผู้ขี่จักรยานในองค์กร

30. ให้รางวัลผู้ที่ชักชวน ให้รางวัลแก่ผู้ที่ชักชวนคนใหม่ ๆ ให้มาร่วมขี่จักรยานมาทำงาน

31. การขี่จักรยานเพื่อสันทนาการ จัด ให้มีการขี่จักรยานตอนเที่ยงหรือหลังเลิกงาน เป็นการสนับสนุนให้ได้ออกกำลังและพักผ่อน ซึ่งให้ประโยชน์หลายอย่างแก่องค์กรนอกเหนือจากโอกาสที่จะได้จำนวนคนขี่ จักรยานมาทำงานเพิ่มขึ้น ข้อมูล นี้เผยแพร่โดย สันนิบาตจักรยานชองวอชิงตัน ซึ่งเป็นองค์กรอาสาสมัครที่ไม่หวังผลกำไรที่ทำงานเพื่อให้บริเวณตะวันตก เฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา เป็นเขตขี่จักรยานที่ดียิ่งๆ ขึ้น


ขอบคุณ เครือข่ายชมรมจักรยานเชียงใหม่

ไม่มีความคิดเห็น:

Hatyai Car-free day 2020

หาดใหญ่ คาร์ฟรีเดย์ 22 กันยายน 2563