สารบัญ

วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมปั่นจักรยาน วันที่ 26 สิหาคม 2555

เนื่องในโอกาสครบรอบ 15ปี โรงพยาบาลกรุงเทพ หาดใหญ่
วันที่ 26 สิงหาคม 2555 เวลา 6.00น.-10.00น.
(คลิกที่ภาพเพื่ออ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่โปสเตอร์)


กำหนดการกิจกรรม
ปั่นจักรยานแรลลี่ “Bike Rally Healthy Care”
วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม 2555
เวลา 06.00 – 08.00 น. ณ ลานกิจกรรม ชั้น G โรงพยาบาลกรุงเทพหาดใหญ่


05.30 น. เริ่มลงทะเบียน 
- พิธีกรประชาสัมพันธ์กิจกรรมครบรอบ 15 ปี ต่าง ๆ และอธิบายรายละเอียดของกิจกรรม Rally 
06.00 น. พิธีเปิดกิจกรรม 
- พิธีกรเชิญประธานในพิธี, แขกผู้มีเกียรติ, ผู้บริหาร, พนักงาน, และขบวน Rally พร้อมกันที่ลานกิจกรรม ชั้น G 
- ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกล่าววัตถุประสงค์การจัดกิจกรรม
- เชิญผู้ว่าราชการจังหวัด (ประธานในพิธี) กล่าวเปิดพิธี
- เชิญผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้อำนวยการโรงพยาบาลฯ ร่วมเพื่อเปิดกิจกรรม 
ณ จุดสตาร์ท 
06.30 น. เริ่มขบวน Rally ตามเส้นทางที่กำหนด 
07.30 น. ขบวน Rally กลับมาถึงโรงพยาบาลกรุงเทพหาดใหญ่ 
08.00 น. เชิญผู้ร่วมกิจกรรมรับประทานอาหารว่าง, ลุ้นของรางวัล, ชมโชว์การแสดง
และบูทตรวจสุขภาพ ในงาน
09.00 น. ผู้อำนวยการกล่าวปิดพิธี เสร็จสิ้นกิจกรรม


แจ้งชื่อได้ที่
ร้านจักรยานหาดใหญ่เมาเทนไบค์
ร้านศรีสุวรรณดีจีกรยาน
ชมรมจักรยานบางแฟบ
บังดล(หาดใหญ่ใน)
เครือข่ายจักรยานหาดใหญ่ 08-9876-6697

วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ภัยจากรถจักรยานสำหรับเด็ก

ข้อมูล-บทความโดย..http://www.csip.org 



เท้าลูกใน "ซี่ล้อจักรยาน" ภัยที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้ามเมื่อเอ่ยถึงจักรยาน พาหนะสองล้อที่พาเราไปได้แทบทุกหนแห่ง
โดยไม่สิ้นเปลืองพลังงานอื่นใด เว้นแต่พลังงานจากน่องของผู้ปั่น
ทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายท่านเลือกใช้จักรยานเป็นพาหนะคู่ใจ
ในการขับไปส่งลูกที่โรงเรียนกันก็บ่อย ปั่นไปกินลมชมวิวในสวนสาธารณะกันก็มาก
      
      
อย่างไรก็ดี การใช้งานพาหนะชนิดนี้ก็ยังมีอันตรายแฝงอยู่
โดยเฉพาะส่วนของซี่ล้อจักรยานที่อาจมีเท้าเล็ก ๆ ของลูกหลง
เข้าไปให้มันปั่นจนทำลูกเล็กน้ำตานองกันได้


(ผอ.ศูนย์วิจัยฯ รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ )

ภัยที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นข้างต้น
รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยเพื่อสร้างความปลอดภัย
และป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี บอกว่า
เป็นเรื่องที่พ่อแม่หลายคนประมาท ทั้ง ๆ ที่ทราบดีว่า
เด็กกับจักรยานมีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บได้ง่าย
ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากพ่อแม่อุ้มเด็กนั่งซ้อนท้ายจักรยานของผู้ใหญ่ที่ไม่มีการป้องกัน
หรือความปลอดภัยที่ได้มาตรฐานดีพอ

 "ผมเชื่อว่าพ่อแม่ทุกคนรู้อยู่แก่ใจว่ามีความเสี่ยง แต่ก็ยังมีหลายท่านมองข้ามกันไป เห็นได้จาก
เวลาอุ้มลูกขึ้นนั่งจักรยาน รู้ว่าเท้าลูกอาจเข้าไปติดในซี่ล้อได้
แต่ก็เพียงเตือนลูกแค่ว่า กางขาไว้นะลูก กางขาไว้นะ จนสุดท้าย เด็กก็คือเด็ก
เท้าก็เข้าไปอยู่ซี่ล้อ เกิดการบาดเจ็บตามมา พ่อแม่ก็เป็นทุกข์ เพราะสงสารลูก" หัวหน้าศูนย์วิจัยฯ กล่าว
      
 สำหรับการบาดเจ็บของเด็กจากจักรยานที่พบได้บ่อยนั้น
หัวหน้าศูนย์วิจัยฯ ท่านนี้ เผยว่า มีอยู่ 2 อย่าง คือ การบาดที่ศีรษะ
และการบาดเจ็บจากเท้าที่เข้าไปในกงซี่ล้อ
โดยการบาดเจ็บที่ศีรษะนั้นเป็นสาเหตุสำคัญของการตายในเด็กบนจักรยานเลยทีเดียว
      
 ส่วนการบาดเจ็บจากเท้าที่เข้าไปในซี่ล้อจักรยาน
ทีมงานมีข้อมูลจากศูนย์วิจัยเพื่อสร้างความปลอดภัย และป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก ระบุว่า
ร้อยละ 5.7 ของการบาดเจ็บของเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปีที่มารับการตรวจที่ห้องฉุกเฉิน
 ในจำนวนนี้ร้อยละ 33 หรือ 1ใน 3 เกิดจากขาเข้าในซี่ล้อรถจักรยาน

ซึ่งการบาดเจ็บชนิดนี้มักเกิดขึ้นในเด็กเล็ก อายุเฉลี่ยของผู้บาดเจ็บเท่ากับ 4.7 ปี
ร้อยละ 62.5 ของเด็กที่บาดเจ็บมีอายุน้อยกว่า 5 ปี
ลักษณะการบาดเจ็บส่วนใหญ่จะเป็นการบาดเจ็บที่ผิวหนังโดยมีลักษณะแบบแผลถลอก แผลฉีกขาด


อย่างไรก็ดี ทั้งการบาดเจ็บที่ศีรษะ
และเท้าของลูกที่เข้าไปติดในซี่ล้อ สามารถป้องกันได้โดยใช้หมวกนิรภัย
และการใช้เบาะนั่งพิเศษสำหรับเด็กที่มีระบบยึดเหนี่ยวเด็กติดตัวไว้
      
ส่วนการบาดเจ็บจากเท้าเข้าไปในซี่ล้อให้ใช้ที่นั่งพิเศษสำหรับเด็กที่ออกแบบ
ให้มีที่วางเท้า ซึ่งในต่างประเทศมีใช้กันทั่วไป หรือถ้าแบบประหยัดเพียง
มีอุปกรณ์ป้องกันเท้าเข้าซี่ล้อเช่นเดียวกับล้อหลังมาติดตั้งที่ล้อหน้า
หรือติดตั้งที่วางเท้าเป็นเพียงท่อนไม้ หรือโลหะที่มีความยาวเพียงพอ
และวางได้ระดับที่เด็กจะวางเท้าลงได้ ก็จะช่วยป้องกันการบาดเจ็บได้มาก
      
"ในเด็กเล็ก พ่อแม่ไม่ควรพาลูกนั่งซ้อนหน้า หรือซ้อนท้ายจักรยานเลย
ส่วนเด็กอายุมากกว่า 9 เดือนขึ้นไปถึง 4 ปี แนะนำให้ใช้ที่นั่งพิเศษสำหรับเด็ก
และมีอุปกรณ์เสริมติดแน่นทั้งด้านหน้า และด้านหลัง
รวมทั้งเลือกใช้จักรยานมีที่กั้นล้อเพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่เท้า
หรืออุปกรณ์อื่น ๆ เช่น หมวกนิรภัย หรือที่ป้องกันการบาดเจ็บที่ข้อศอก และเข่า" รศ.นพ.อดิศักดิ์ฝาก

เห็นได้ว่า การบาดเจ็บจากจักรยาน โดยเฉพาะเท้าที่เข้าไปในซี่ล้อนั้น
เป็นสิ่งซึ่งไม่ควรจะเกิดขึ้นเลยถ้าพ่อแม่มีความรู้ ห่วงใยลูก และเข้าใจในคำว่าอุบัติเหตุ
ดังนั้นการเลือกใช้จักรยานควรมีอุปกรณ์ป้องกันที่ดี
แล้วความสุขในวันหยุดกับครอบครัวจะมีแต่รอยยิ้ม และเสียงหัวเราะตามมา
ที่มา
http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9530000165101
www.csip.org

วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

“ปั่นจักรยาน ... ออกกำลังสำหรับชีวิตที่ไม่มีเวลา”


“ปั่นจักรยาน ... ออกกำลังสำหรับชีวิตที่ไม่มีเวลา”
(แชร์มาจาก เสือออย  Sirintr Khumwong )

…โลกยุคไร้สายทุกอย่าง ผ่านมาแล้วก็ผ่านไปอย่างรวดเร็ว แม้แต่อายุจากวัยเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน แล้วก็วัยพักผ่อน ร่างกายของคนเมืองก็จะเสื่อมถอยอย่างรวดเร็วและไม่รู้ตัว เพราะ "ไม่มีเวลา" การมาของโรคต่างๆ ก็ไวติดจรวดเช่นกัน พร้อมทั้งเพิ่มระดับความรุนแรงมากขึ้น

…การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่จะช่วยชะลอความเสื่อมของร่างกาย และชะลอการมาของโรคต่างๆ ถ้าหลายท่านยังคงไม่มีเวลา ลองจัดตารางชีวิตดูใหม่ค่ะ ด้วยการแทรกการออกกำลังง่ายเข้าหากิจกรรมหลักในชีวิตประจำวัน การปั่นจักรยานขณะดูข่าวเช้า การเดินบนสายพานขณะดูละครรอบเย็น การโยคะหรือเต้นแอโรบิก ตามรายการในเคเบิลทีวี “ทำได้ไหม?” ถ้าอยากให้เริ่มต้นสบายๆ การออกกำลังนั่งปั่นจักรยานหน้าโทรทัศน์ 30 นาที ต่อเนื่องทุกวัน เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง

…เริ่มด้วยทดลองจดบันทึก วันแรกที่เริ่มต้นปั่นจักรยาน ด้วยอุปกรณ์ที่ติดมากับจักรยาน อาทิ อัตราการเต้นของหัวใจ ระยะทางที่ปั่นได้ ความเร็วต่อนาที ที่มักจะมีในจักรยานรุ่นใหม่ๆ เมื่อทำได้ครบ 1 สัปดาห์ ลองกลับมาดูข้อมูลที่ได้บันทึกไว้ในวันแรกเปรียบเทียบกัน น้ำหนักอาจจะยังไม่ลดลง แต่เราจะพบว่าเหนื่อยน้อยลง เมื่อยน้อยลง เราก็จะมีกำลังใจมากขึ้น ถือว่าเป็นการเริ่มต้นกลับมาสร้างความแข็งแรงให้แก่ร่างกายที่เราใช้มาเป็นเวลานาน ถ้าต้องให้ไปสมัครสมาชิกฟิตเนส เข้าคอร์สโยคะร้อนเย็น ก็จะทำให้เป็นอุปสรรคที่ใหญ่หลวงเพราะเราจะไปอย่างมาก 2-3 ครั้งแรก ค่าสมาชิกที่เหลือก็จะเป็นการบริจาคไป

* สัญญาณอันตรายสำหรับทุกวัย ที่บ่งบอกว่าเราควรเริ่มต้นออกกำลัง ได้แก่
- น้ำหนักตัวมาก ค่า BMI > 25
- ความดันโลหิตสูง
- โรคเบาหวานระดับต้น ค่าน้ำตาลในเลือดมากกว่า 110 - 126
- หน้าท้องยื่น เอวขยายใหญ่
- เจ็บป่วยบ่อยๆ อ่อนเพลียง่าย ง่วงนอนขณะทำงาน
- เริ่มมีอาการปวดเมื่อยตามข้อเข่า ข้อเท้า

…จากงานวิจัยทางการแพทย์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ต่างพิสูจน์แล้วว่าการออกกำลังง่ายๆ 30 นาที ทุกวัน
- ลด การเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในผู้ชาย ลดการเป็นโรคมะเร็งเต้านมในผู้หญิง
- ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
- ช่วยป้องกันโอกาสเกิดโรคเบาหวานในผู้ที่มีความเสี่ยง โดยส่งเสริมขบวนการใช้น้ำตาล (glucose metabolism) โดยเพิ่มความไวของอินซูลิน เพิ่มความสามารถในการจับน้ำตาลไปใช้ให้แก่กล้ามเนื้อ
- ช่วยควบคุมน้ำหนัก ลดไขมัน
- เพิ่มความแข็งแรงและความยืดหยุ่นให้กล้ามเนื้อ

* ข้อควรปฏิบัติก่อนเริ่มต้นออกกำลังกาย*
1. รับประทานอาหารก่อนอย่างน้อย 2 ชั่วโมง ควรงดการดื่มชา กาแฟ กรณีเป็นเบาหวานร่วมด้วย ควรรับประทานนมหรือขนมปัง 1-2 แผ่น ก่อนออกกำลังกาย
2. การแต่งกายต้องเหมาะสม เสื้อผ้า รองเท้า ไม่ควรรัดแน่นเกินไป
3. ห้ามออกกำลังกายขณะมีไข้
4. ก่อนออกกำลังกายควรทำการอุ่นเครื่อง (Warm up) และหลังออกกำลังกายควรผ่อนคลาย (Cool down)
- มึนงง หน้าซีด
- ใจสั่น เหงื่อออก
- รู้สึกจะเป็นลม
- มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก

…ถ้าไม่แน่ใจว่า จะออกกำลังกายอะไรให้เหมาะสมกับตนเอง หรือมีอาการปวดหลัง ปวดเข่า ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาก่อน จะได้ไม่เป็นอุปสรรคต่อการออกกำลัง

* ด้วยความปรารถนาดีจาก โรงพยาบาลไทยนครินทร์ โทร. 0-2361-2727

** ที่มาจาก หนังสือพิมพ์คมชัดลึก วันอังคารที่ 31 ม.ค. 2555 คอลัมน์ : ดูแลสุขภาพ

สุดยอดอาหาร กินแล้วหน้าเด็ก


บทความโดย..ไชยพร สวัสดิ์ชัยสิทธิ์ (น้องไอซ์)


1.บลูเบอร์รี่:จากผลการวิจัยพบว่า แอนโทไซยานิน (anthooyanin)สารเม็ดสีในบลูเบอร์รี่ ช่วยในเรื่องบำรุงสายตา

2.พริกหยวก:ทั้งพริกแดง พริกเขียวและพริกเหลือง ต่างมีสาร แอนตี้ออกซิแดนท์ ที่ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันร่างกาย น้ำฉ่ำๆจากพริกหยวกยังจะช่วยให้สุขภาพเล็บแข็งแรง อีกด้วย

3.กะหล่ำปลี:เห็นเขียวๆม่วงๆอย่างนี้ รู้มั้ยว่ากะหล่ำปลีนั้นอุดมไปด้วยวิตตามินA.C และเบต้าแคโรทีน ที่จะช่วยในเรื่องของผิวพรรณ เพียงหั่นกะหล่ำปลีบางๆ แล้วนำไปผัดกับขิง และกระเทียม ก็ได้มื้อค่ำสุดอร่อยแล้ว

4.วอลนัท:ทองแดงในวอลนัทช่วยคงสภาพสีผม ไม่ให้เปลี่ยนสีก่อนวัยอันควร ลองโรยวอลนัทลงบนสลัด หรือโยเกิร์ตก็ไม่เลว

5.แอปริคอท:สารเบต้าแคโรทีนในแอปริคอทช่วยชะลอการเสื่อมถอยของเลนส์ตา ช่วยในการมองเห็นได้ดี ใส่แอปริคอทลงไปในสตูว์ไก่ ผสมกับขิงและอบเชย จะได้กลิ่นอายแบบ โมร็อคโค

6.อะโวคาโด(แสนขมมม)การรัปประทานอะโวคาโด ช่วยทำให้ผิวเรียบเนียน และปกป้องผิวจากอันตรายที่เกิดจากแสนแดด เนื่องจากอะโวคาโด อุดมไปด้วยวิตตามิน บดอะโวคาโดโรยหน้าเค้กทานดูก็ได้

7.สตรอเบอร์รี่:วิตตามินซีและสารบางอย่างในสตรอเบอร์รี่ ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของผนังเส้นเลือด ผลไม้สีแดงสดทรงเสน่ห์แบนี้ เพียงแช่เย็นใว้จิ้มกินกันเกลือ ก็อร่อยแล้ว

8.เต้าหู้:หยุดยั้งผิวที่ซีดและแห้ง โดยการรับประทานอาหารอย่างเต้าหู้ เพราะในเต้าหู้มีสารที่จะช่วยคืนสภาพผิว และป้องกันรอยเหี่ยวย่น

9.ข้าวโอ็ต:เต็มไปด้วยเส้นใยที่ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือด ทั้งยังช่วยลดอาการตึงเครียด จึงทำให้รอยเหี่ยวย่นลดลง

10.กระเทียม:สมุนไพรกลิ่นแรงอย่างกระเทียม มีคุณสมบัติป้องกันแบคทีเรียล้างพิษ และป้องกันไวรัสจา กโรคภัยไข้เจ็บ ตั้งแต่ไข้หวัดไปจนถึงมะเร็ง อาหารไทยส่วนใหญ่มีกระเทียมเป็นส่วนประกอบอยู่แล้ว

11.แครนเบอร์รี่:ผลไม้มหัสจรรย์ ช่วยต้านการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ จากงานวิจัยล่าสุดพบ ยังช่วยป้องกันโรคเหงือกและแผลในช่องท้องได้ชะงัดอีกด้วย อาจจะทำเป็นแยมใว้รับประทานกับขนมปังก็ได้ หรือทำเป็นซอสแครนเบอร์รี่ใว้ทาไก่หรือเนื้อย่าง ก็มีประโยชน์ไม่แพ้กัน


12.ลินสีด:ช่วยลดอาการเจ็บตามข้อต่อกระดูก เพราะอุดมไปด้วย โอเมก้า3 ที่ร่างกายใช้ในการสร้างฮอร์โมนที่มีคุณสมบัติป้องกันการอักเสบ ลองเติมลงไปในน้ำปั่นหรือหน้าสลัดดูก็ได้


13.กีวี:วิตตามินซี และสารอาหารบางอย่างในกีวีช่วยในการไหลเวียนของออกซิเจน ลดปัญหาเกี่ยวกับทางเดินหายใจ เช่นโรคหืด หอบ หั่นกีวีเป็นลูกเต๋าเสียบไม้กับกล้วยหรือมะม่วง


14.ลูกพลัม:อุดมไปด้วยสารอาหาร ที่ช่วยป้องกันการถูกทำลายของไขมันซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของสมอง น้ำลูกพลัมไปเคี่ยวกับน้ำส้มและโรยลงไปบนมูสลี่หรือจะกินเล่นเป็นขนมก็ได้


15.มะเขือม่วง:เปลือกของมะเขือม่วงนั้นอุดมไปด้วยนาซูนิน(nasunin)ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยปกป้องสมองของคุณจากการถูกทำลายเพื่อคงความฉลาดหลักแหลมของคุณใว้



16.กล้วย:เป็นแหล่งรวมของโพลแตสเซียม นอกจากกล้วยจะช่วยในเรื่องของระบบการย่อยอาหาร แล้วยังช่วยลดอาการท้องผูก แค่ผสมเข้ากับนม น้ำผึ้ง และอัลมอนด์ ก็จะได้อาหารแสนอร่อยแล้ว

17.ส้ม:การรับประทานส้มทั้งผลแทนการดื่มน้ำ ส้มจะช่วยให้ได้รับสารอาหารอย่างเต็มที่ มิหนำซ้ำวิตตามินในน้ำส้มยังช่วยป้องกันและเยียวยาโรคหวัด


18.ข้าวกล้อง:ฮอตฮิตกันอยู่พักใหญ่ เพราะอุดมไปด้วยแร่แมงกานิส ที่จะช่วยให้พลังงานกับร่างกาย โดยการให้โปรตีนและคาร์โบไฮเดรตและช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกายอีกด้วย ใครที่ไม่ชอบสีสันจัดจ้านของข้าวกล้อง ก็สามารถหุงข้าวกล้องรวมกับข้าวสวยได้

19.ลูกพรุน:โพแทสเซียมในลูกพรุนช่วยลดโคเลสเตอรรอลในเลือด และลดระดันความดัน

20.คะน้า:ช่วยให้ตับของคุณผลิเอนไซน์ในการต่อต้านมะเร็ง เมื่อคุณเคี้ยวคะน้า จากงานวิจัยพบว่า สามารถหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านมได้

21.ผักโขม:คุณจะได้รับแคลเซียมจากผักโขมในขณะเดียวกันก็มี แมกนีเซียมที่จะช่วยให้ร่างกายของคุณดูดซึมแคลเซียมได้ดี การรับประทานผักโขมในสลัด จะช่วยป้องกันโรคกระดูกเปราะและหักง่าย

22.ราสเบอร์รี่:จากผลการวิจัยพบว่าสารแอนตี้ออกซิแดนท์ในราสเบอร์รี่ สามารถยับยั้งการเกิดเนื้อร้ายได้

23.ถั่วงอก:สารที่พบในถั่วงอกสามารถช่วยลดระดับไขมันในเส้นเลือด นอกจากนี้ถั่วงอกยังประกอบไปด้วยสารอาหารในปริมาณสูง ซึ่งจะช่วยเรื่องโรคเล็กน้อยในผู้หญิงหมดประจำเดือน
(ต่อไปนี้พวกเราจะเด็กขึ้นแล้ว....)

24.บล็อกโคลี่:การรับประทานบล็อกโคลี่เป็นประจำจะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ20%และยังมีวิตตามินซีที่ช่วยป้องกันการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อปวดตามข้อและไขข้ออักเสบ

25.บีทรูท:เนื้อของบีทรูทอุดมไปด้วย เบต้าไซยานินซึ่งเป็นสารต่อต้านมะเร็ง

26.องุ่นแดง:จะช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเลือดจับตัวเป็นก้อน และดักจับไขมันในเลือดที่จะเป็นอันตรายของเส้นเลือดแดง

27.ปลาแซลมอน:หรือเนื้อปลาชนิดอื่นๆที่มีไขมันปนอยู่บ้างนั้น สามารถช่วยปกป้องคุณจากโรคภัยไข้เจ็บมากมายอีกทั้งโปรตีนในเนื้อปลายังช่วยในเรื่องของสมองด้วย

28.มะเขือเทศ:สารไลโคพิน(lycopehe)ในมะเขือเทศ จะช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งเต้านม มะเร็งปอดและลำไส้ใหญ่ ที่สำคัญ ช่วยให้ผิวสวยอย่าบอกใครเชียว

29.หัวหอม:จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดทั้งช่วยในการรักษาและป้องกันโรคเบาหวาน
******** ที่มา///หนังสือคู่สร้าง คู่สม
(ต่อไปนี้พวกเราจะเด็กขึ้นแล้ว....)
4237R-205 © SuperStock
ภาพจากอินเตอร์เนต

วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เลือกกินอย่างไร ให้ห่างไกล 9 โรค ยอดฮิต


ไชยพร สวัสดิ์ชัยสิทธิ์ / รวบรวมเรียบเรียง.

เลือกกินอย่างไร ให้ห่างไกล 9 โรค ยอดฮิต

1.อาการเรอบ่อย-แก้ไขด้วยการ ดื่มน้ำมันฝรั่งต้ม วันละสามแก้ว จะช่วยลดอาการเรอบ่อยได้ดีขึ้น 

2.ท้องอืด ท้องเฟ้อ-มักมีสาเหตุ จากการกินอาหารจำพวก ขนมปัง พุดดิ้ง สามารถแก้ได้ด้วยการกินแตงกวาดอง หรือ ดื่มน้ำเก๊กฮวยร้อนๆ สัก 1-2 แก้วต่อวัน

3.ความดันโลหิตต่ำ-หลังตื่นนอนทุกเช้า ให้ดื่มน้ำหนึ่งแก้ว และเลือกรับประทานอาหารที่ปรุงด้วยเกลือ เพราะเกลือจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น ใครที่ชอบหน้ามืด และรู้สึกเมื่อยล้า ให้กินผักผลไม้ ที่มีวิตตามีซี เช่น กีวี มะเขือเทศ บล็กโคลี่ ฝรั่ง จะช่วยให้ความดันโลหิตสูงขึ้น แถมยังหลั่งฮอร์โมนแห่งความสุขอีกด้วย

4.ความดันโลหิตสูง-แก้ด้วยการกินกล้วย แตงกวา เพราะมีโปรแตสเซียมสูง ช่วยลดน้ำในเลือด และทำให้ความดันโลหิตลดลง หากความดันสูง อ่อนเพลีย ให้กินอาหารที่มีกรดอะมิโน (Thyptophan) เช่นมันฝรั่ง ถั่ว ข้าวโอ็ต เนย เป็นต้น และมื้อค่ำ ควรเสริมด้วย คาร์โบไฮเดรต เช่นข้าว ธัญพืซไม่ขัดสี และทานเนื้อสัตว์ให้น้อยลง และควรเสริมวิตตามินอี เฉพาะที่อยู่ในน้ำมันงา

5.ซึมเศร้า-ให้กินข้าว ผักดิบ น้ำมันงา อย่างน้อยวันละหนึ่งมื้อ ลดอาหารประเภทเนื้อสัตว์ลง โดยเฉพาะมื้อค่ำ ไม่ควรทานเนื้อสัตว์

6.นอนไม่หลับ-ให้กินถั่ววันละหนึ่งกำมือ เพราะในถั่วมี ไนอาซิน สูงซึ่งมีการ ผลิตฮอร์โมน เซโรโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความสุข ช่วยให้นอนหลับสบายขึ้น

7.อากาศเปลี่ยน ทำให้ปวดศีรษะ ง่วง ฯลฯ-ควรงดกินผลไม้ช่วงเช้า หันไปกินอาหารที่มีโปรตีน และวิตตามินบี เช่น แตงกวาดอง หรือ ควรกินอาหารเบาๆเช่นข้าว ผักและปลา

8.กระดูกพรุน-เลือกกินอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม บล็อกโคลี่ ผักขม หลีกเลี่ยง อาหารสำเร็งรูป น้ำดำ ซอฟต์ดริ้งค์ ที่จะลดการดูดซึมแคลเซียม ลองกินโยเกิร์ตวันละสองถ้วย เพราะแบคทีเรียในกรดนม จะช่วยในการดูดซึมแคลเซียมได้ดีขึ้น รวมทั้งอาหารประเภทถั่ว ชาเขียว ปลา เพราะฟรูโอไรน์ ที่ช่วยกระตุ้นโนการสร้างเซลส์กระดูก

9.วัยทอง-ควรดื่มน้ำเต้าหู้ วันละหนึ่งแก้ว หรือกินพวกนมถั่วเหลือง และโยเกิร์ตวันละถ้วย เพราะแบคทีเรียจากกรดนม จะช่วยในการดูดซึม เอสโตรเจน จากอาหารเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง...


วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การจราจรหน้าโรงเรียนบ้านหน้าควนลังและประเมินผลโครงการใส่หมวกให้น้อง

โปรดคลิกที่ภาพเพื่อชมคลิปฯ
- สภาพแวดล้อมบริเวณหน้าโรงเรียน เป็นถนน 2ช่องจราจร รถที่ผ่านส่วนใหญ่จะเป็นรถยนต์ส่วนตัว และรถจักรยานยนต์ ซึ่งมีจำนวนมากในชั่วโมงเร่งด่วน และยังไม่มีทางม้าลาย ป้ายเตือนเขตโรงเรียนลดความเร็ว เพื่อความปลอดภัยของทุกคน

- เครือข่ายจักรยานหาดใหญ่ ได้ทำการส่งเสริมการใช้จักรยานโดยการทำโครงการซ่อมจักรยานให้น้องและโครงการใส่หมวกใ­ห้น้อง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2555 โดยมอบหมวกนิรภัยสำหรับขี่จักรยานจำนวน 30ใบ
- จากการสังเกตวันนี้มีเด็กใส่หมวกกัน ประมาณ80% - ไม่มีหมวก 10% - มีแต่ไม่ใส่ โดยแขวนไว้ที่แฮนด์ หรือ ใส่ไว้ในตะกร้า10%
- โดยโรงเรียนทำที่เก็บหมวกฯไว้เป็นอย่างดี
- ทางเครือข่ายจะต้องมีการปลูกฝังวินัยจราจร และวิธีการใช้จักรยานให้มากและบ่อยกว่านี้

(เครือข่ายจะประเมินผลอีก 2ครั้ง ภายในเดือน กรกฏาคม 2555 และจะสรุปอีกครั้ง)



- โรงเรียนในแต่ละแห่งที่เครือข่ายฯเข้าไปทำกิจกรรมต่างๆไม่ว่าจะเป็นการ-ซ่อมจักรยาน หรือ ใส่หมวกให้น้อง-ที่ผ่านมา ทางเครือข่ายก็เป็นกังวลอยู่ไม่น้อยเลยในเรื่องที่จะเป็นการเข้าไปทำความลำบากใจให้กับโรงเรียนหรือเปล่า....ตั้งแต่เรื่องอาหารการกินของทีมงาน และเรื่องที่เครือข่ายต้องขอเวลากับทางโรงเรียนเพื่ออบรมการใช้จักรยานและสร้างวินัยจราจรให้กับเด็กนักเรียน และต้องมีการประเมินผลหลังทำกิจกรรมทุกครั้ง
- แต่เพื่อความปลอดภัยของตัวนักเรียนเอง และเครือข่ายฯจะเป็นผู้ช่วยให้กับโรงเรียนในการปลูกฝังวินัยจราจรให้กับเด็กนักเรียน
- ซึ่งหวังว่าผลดีทั้งหมดจะตกอยู่กับตัวนักเรียน - ผู้ปกครอง - โรงเรียน และต่อสังคมในที่สุด.

สิ่งที่โรงเรียนนี้ต้องการมากที่สุดขณะนี้คือ 
1.ทางม้าลาย 
2.ป้ายจราจรเตือนเขตโรงเรียน 
3.คันสะดุด หรือ ลูกระนาดชะลอความเร็ว






                                                           คนนี้เอาหมวกใส่ตระกร้ามา







                                           คนนี้หมวกก็อยู่ในตระกร้า...ไม่ใส่มาโรงเรียน


                 กลุ่มนี้ยังไม่ได้รับหมวก...สั่งเพิ่มไปแล้ว เมื่อชุดใหม่มาถึงจะไปมอบเพิ่มเติมให้ครับ




วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

จำต้องใช้มอเตอร์ไซด์ ทั้งที่เป็นยานพาหนะที่เสี่ยงที่สุด

น่าเห็นใจยิ่งตรงที่ครอบครัวซึ่งจำต้องใช้มอเตอร์ไซด์ 
ทั้งที่เป็นยานพาหนะที่เสี่ยงที่สุด ก็เพราะรายได้ไม่เพียงพอที่จะใช้รถประเภทอื่น
ที่มีความปลอดภัยกว่านี้ และทั้งยังสะดวกกว่าการหอบลูกๆขึ้นรถเมล์ 
หรือรถประจำทางอื่นๆ  หรือหากจะพูดตรงๆก็คือ 
บ้านเรานั้นมีระบบการบริการขนส่งสาธารณะ(ขนคน) ที่ล้มเหลว (รถน้อย-รอนาน-บริการห่วย)



http://www.csip.org/csip/autopage/show_page.php?h=118&s_id=144&d_id=144


อ่านเพิ่มเติมกรุณาคลิกที่นี่





ภาพจากเครือข่ายจักรยานหาดใหญ่ ขณะทำโครงการใส่หมวกให้น้อง ที่โรงเรียนบ้านหน้าควนลัง อ.หาดใหญ่

(บทความจาก ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและการป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก)


มอเตอร์ไซด์ ..มรณะภัยสำหรับเด็กๆ...???บทความโดย... ประจวบ ผลิตผลการพิมพ์
ทราบมั้ยครับว่า ไทยแลนด์แดนสไมล์ของเรานั้น
มีคนที่ตายเพราะอุบัติเหตุบนท้องถนนปีละกว่า 1หมื่น2พันคน
(หรือกว่าวันละ 33 คน)พิการกว่า 5พันคนต่อปี
ยิ่งเป็นวันหยุดยาว วันเทศกาลต่างๆ( เช่น วันปีใหม่-ตรุษจีน-สงกรานต์)
ตัวเลขข้างต้นก็จะเพิ่มขึ้นไปอีกถึง 2 เท่า 
ส่วนความสูญเสียทางเศรษฐกิจคิดเป็นเงินถึงปีละกว่า  2แสน3หมื่นกว่าล้านบาท !
และที่น่าตกใจก็คือ อุบัติเหตุบนท้องถนนอันเป็นเหตุแห่งความเจ็บ ความพิการ
และความตายนั้น มีรถจักรยานยนต์มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยถึง กว่า 80 %
หลายท่านอาจสงสัยนะครับว่า  ตัวเลขและสถิติอันน่าตกตะลึงนี้เกิดจากเหตุใด ?
รายละเอียดอาจมีมากมาย และโดยสรุปก็ไม่พ้น  “ซิ่ง-เมา- ย่อหย่อน”นั่นคือการขับขี่ที่เร็วเกินไป-ฉวัดเฉวียน-เมาสุราในขณะขับขี่  หรือแม้จะไม่ซิ่งไม่เมา
แต่จำต้องใช้มอเตอร์ไซด์ไปทำงาน ,ซื้อของ,ส่งลูกไปโรงเรียน
แถมทั้งผู้ขับขี่และผู้ซ้อนท้ายไม่ใส่หมวกนิรภัย, หรือเด็กอายุไม่เกิน15 ที่กฏหมายห้ามไว้
กลับขับขี่ได้อย่างสบายใจ   ในขณะที่เจ้าหน้าที่ก็ย่อหย่อน ขาดความเช้มงวดกวดขัน
ให้ผู้ขับขี่ปฏิบัติตามกฏหมาย ตัวเลขการเจ็บ พิการ และตาย จึงอยู่ในระดับสูงจนน่ากลัว...
ทางศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก
คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี
ได้จัด “เวทีวิพากษ์ข้อเสนอเพื่อความปลอดภัยของเด็กในการใช้รถจักรยานยนต์” 

วันจันทร์ที่ 20 กันยายน 2553 เวลา 13.45 น.
ณ ห้อง 708 ชั้น 7 อาคารเรียนและปฏิบัติการรวมด้านการแพทย์
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมเสนากันอย่างมากมาย
เช่น ศ.นพ.ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาลคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี,
ศ.ดร.พิชัย ธานีรณานนท์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์,
นายสมหวัง ทองขาวนักวิชาการขนส่งชำนาญการ สำนักสวัสดิภาพการขนส่ง,
นายปกรณ์ อนิวัตกูลชัยนักศึกษาปริญญาเอก สถาบัน AIT,
พ.ต.อ.พงษ์สันต์ คงตรีแก้วอาจารย์คณะตำรวจศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ,
นายพรหมมินทร์ กัณธิยะผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ (สคอ.).,
นายสุเทพ ขันธโสภา  ผู้จัดการส่วนบริหารทั่วไป บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัย..ฯลฯ.......
โดยมีปรีชา ชูทรัพย์คณะอนุกรรมการสร้างความเข้มแข็งชุมชนด้านป้องกันอุบัติภัย
และสาธารณภัย กปอ. ,  ดร.เตือนใจ ฟุกุดะนักวิจัยอาวุโส มหาวิทยาลัยนิฮอน ประเทศญี่ปุ่น
เป็นประธานในที่ประชุม       และผม (หัวหน้าศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและ
ป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก  )เป็นผู้ดำเนินรายการ


งานเสวนาครั้งนี้เป็นไปอย่างคึกคัก
ท่านทั้งหลายต่างระดมความรู้และความคิดเห็นอย่างน่าสนใจเป็นที่สุด
จึงขอย่นย่อนำมาเล่าสู่กันอ่านในงวดนี้ครับ.....
แม้...อุบัติเหตุจราจร ที่ เกิดจากมอเตอร์ไซค์
จะทำให้เด็กๆของเราต้องเจ็บ-ตาย และพิการปีหนึ่งๆเป็นจำนวนมาก !!
แต่ยอดขายในแต่ละปี มอเตอร์ไซค์สูงกว่ารถชนิดอื่นๆตลอดมา
เรียกได้ว่าซื้อง่ายขายคล่อง มอเตอร์ไซค์ จนกลายเป็นพาหนะหลักของครอบครัวไทย
น่าเห็นใจยิ่งตรงที่ครอบครัวซึ่งจำต้องใช้มอเตอร์ไซด์
ทั้งที่เป็นยานพาหนะที่เสี่ยงที่สุด ก็เพราะรายได้ไม่เพียงพอที่จะใช้รถประเภทอื่น
ที่มีความปลอดภัยกว่านี้ และทั้งยังสะดวกกว่าการหอบลูกๆขึ้นรถเมล์
หรือรถประจำทางอื่นๆ  หรือหากจะพูดตรงๆก็คือ
บ้านเรานั้นมีระบบการบริการขนส่งสาธารณะ(ขนคน) ที่ล้มเหลว (รถน้อย-รอนาน-บริการห่วย)
ผู้คนบ้านเราจึงตกอยู่ในภาวะจำใจต้องเสี่ยง
กระทั่งผู้มีอำนาจแก้ไขอาจเห็นเป็นเรื่องธรรมด๊า...ธรรมดา !

1.เสี่ยงตั้งแต่แรกเกิด!! พบเห็นกันมากมาย ที่ในเด็กบ้านเราต้องเสี่ยงกันตั้งแต่แรกเกิด !
ด้วยแม่หลังคลอดต้องอุ้มทารกน้อยซ้อนมอเตอร์ไซด์ที่มีพ่อเป็นผู้ขับขี่
ทางศพด.(ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก
คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ) มีความเห็นว่า ทารก
(ตั้งแต่: แรกเกิด -เด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ปี ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะให้โดยสารรถจักรยานยนต์

2.ขับขี่เป็นตั้งแต่เด็ก!! ตามกฎหมายเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ไม่สามารถมีใบขับขี่ได้
แต่สิ่งที่พวกเราเห็นกันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันก็คือ เด็กอายุน้อยกว่า15
(แม้เพียง 8-9 ขวบก็เคยพบเห็น) ขับขี่กันหน้าตาเฉย (โดยไม่มีใบขับขี่ )
นอกจากนั้น พวกวัย15 ขึ้น(โดยไม่รู้ว่ามีใบขับขี่หรือไม่)
หลายๆรายก็มีพฤติกรรมเสี่ยงอันตราย  ขับขี่ด้วยความเร็วสูง
ขับขี่แข่งกันอย่างโลดโผน  แซงซ้ายปาดขวา ปาดหน้าอย่างกระชั้นชิด ...ฯลฯ
ทางศพด.(ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก
คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ) มีความเห็นว่า
ทารก(ตั้งแต่: แรกเกิด -เด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ปี
ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะให้โดยสารรถจักรยานยนต์
รวมทั้งเห็นว่าไม่ควรอนุญาตให้เด็กเล็ก /เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี
โดยสารรถจักรยานยนต์ โดยมีกฎหมายห้ามโดยสารอย่างชัดเจน
ในขณะเดียวกัน ก็สนับสนุนให้
เพิ่มการวิจัยทางหลักกลศาสตร์เพื่อผลิตนวัตกรรมป้องกันการบาดเจ็บ
ที่เหมาะสมสำหรับเด็กทารก-เด็กเล็ก- /เด็กก่อนวัยเรียน ( 2-6 ปี )
และให้โดยสารได้เฉพาะเมื่อเด็กสามารถเหยียบบนที่วางเท้าได้  และอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย
แล้วจะต้องประกอบด้วย ที่นั่งนิรภัย หรือระบบยึดเหนี่ยวอื่นๆ
ร่วมกับการจำกัดความเร็วรถ เพื่อการเดินทางอย่างปลอดภัยของเด็กวัยนี้ในอนาคต
และอย่าลืมสวมหมวกนิภัยสำหรับเด็กสำหรับ 2 ขวบขึ้นไป
ขนาดเส้นรอบวงหมวกนิรภัยที่เหมาะสม- อายุ 2 - 4 ปี = ขนาดหมวก 500 มม.
- อายุ 5 - 8 ปี = ขนาดหมวก 530-540 มม.
- อายุ  >8ปี = ขนาดหมวก 570-580 มม.
(ส่วนเด็ก 9 เดือนขึ้นไป อาจสวมหมวกนิรภัยจักรยานเป็นอุปกรณ์เสริมเพิ่มเติม)
สิ่งที่สำคัญคือ   สอนให้เด็กรู้ว่าหมวกกันน็อคมีความสำคัญมาก
สามารถป้องกันการกระแทกของศีรษะขณะเกิดอุบัติเหตุได้
แต่ต้องสวมหมวกกันน็อคให้ถูกวิธีด้วยการเลือกขนาดให้พอดีกับศีรษะ และรัดสายรัดคางให้แน่น
หมวกกันน็อคที่ดีต้องใส่พอดีศีรษะ มีสายรัดที่ดีไม่หลุดง่าย
เปลือกนอกมีความแข็งแรง ต้านทานการเจาะทะลุได้ เนื้อในสามารถดูดซับพลังงาน
ป้องกันแรงจากการกระแทกได้  น้ำหนักหมวกมีความสำคัญต่อเด็กมาก
เนื่องจากกล้ามเนื้อต้นคอเด็กยังไม่แข็งแรงและศีรษะเด็กมีสัดส่วนที่ใหญ่
ดังนั้นหมวกที่หนักจะทำให้เกิดการหักของกระดูกต้นคอเมื่อเกิดการชนกระแทกได้

3.. ยิ่งเสี่ยงมากเมื่อ... เข้าสู่วัยรุ่น!! ...วัยรุ่น นิยมใช้มอเตอร์ไซค์เป็นพาหนะแต่..
ด้วยความเป็นมือใหม่เพิ่งหัด ขาดประสบการณ์
ตัดสินใจแก้ปัญหาเฉพาะหน้าต่างๆยังไม่ ดีพอ..ไม่ชอบใส่หมวกกันน็อค
ซ้ำยังใจร้อน มีความเครียด บวกแรงยุยงจากเพื่อนๆวัยรุ่น
ยิ่งดื่มเหล้าและใช้ยาก่อนขับขี่ ก็ยิ่งเสี่ยงทั้งต่อชีวิตของตนและชีวิตของผู้อื่น
** วัยรุ่นควรมีหลักสูตรการอบรมให้ความรู้ ควบคู่ไปกับการฝึกทักษะการขับขี่
ที่ปลอดภัยฝึกการรับรู้ความเสี่ยงที่เหมาะสม 
โดยหลักสูตรอาจแบ่งเป็น 2ช่วงวัยเพื่อความเหมาะสมก็ได้
(เช่นในเด็กอายุ 13-15 ปี และ เด็กอายุ 16 - 18 ปี)
เพิ่มมาตรการเพื่อความปลอดภัยสำหรับวัยรุ่น เช่น
ในช่วง 2-3 เดือนแรกของการขับขี่
จะต้องมีผู้ใหญ่คอยควบคุมดูแล  และเพิ่มความปลอดภัย
ด้วยการกำหนดถนนที่ขับขี่ได้, ห้ามขับกลางคืน, ไม่ให้มีเด็ก/เพื่อนซ้อนท้าย

ยังมีความคิดเห็นจากงานเสวนาครั้งนี้ที่น่าสนใจอีกหลากหลาย เช่น
เห็นว่าทางรัฐฯได้ทุ่มทุนไปถึง 4 แสนล้าน เพื่อสร้างถนนให้เยอะๆเข้าไว้
ในขณะที่ไม่สนใจในเรื่องการลงทุน ให้นักเรียนมีรถรับส่งไป-กลับโรงเรียน 
พยายามโปรโมท โครงการ “สร้างถนนปลอดฝุ่นแทนที่สร้างถนนปลอดภัย !”
(ถนนสะอาดไร้ฝุ่น แต่ ไม่ปลอดภัย เป็นเหตุให้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ต้องตายกันอยู่เสมอ
ต่อให้ไม่มีฝุ่นสักธุลีเดียวก็ไร้ค่าอย่างสิ้นเชิง)
ยังมีอีกหลายความเห็นที่น่าสนใจ และเป็นจริงได้ในทางปฏิบัติ เช่น การสร้างจิตสำนึกร่วมกัน
ด้วยการให้เพื่อนๆหรือญาติที่มีรถไปรับกลับมา (แล้วอาจลงขันช่วยเรื่องค่าใช้จ่ายกัน)
มีงานวิจัยก่อนหน้านี้สัก 30 ปี รพ.วชิระกับ รพ.ศิริราช ร่วมทำการศึกษาใน กทม.พบว่า
แม้แต่รถรับส่งนักเรียนที่เราเรียกว่ารถตู้ ก็ยังมีความปลอดภัยมากกว่า
รถเก๋งที่พ่อแม่พาลูกไปโรงเรียน (ใน กทม.)


ยังครับ..ยังมีอีกหลายทัศนะที่น่าสนใจ มีคุณค่ามากและสมควรนำมาปฎิบัติ
และช่วยกันรณรงค์ให้หน่วยงานของรัฐได้เห็นถึงเห็นถึงข้อดี เพื่อก้าวเข้ามาทุ่มเทกับ
การแก้ปัญหาอย่างจริงจังยิ่งกว่าทุกวันนี้ครับ

*********************************************************************

ข้อมูล-บทความโดย..http://www.csip.org



เท้าลูกใน "ซี่ล้อจักรยาน" ภัยที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้ามเมื่อเอ่ยถึงจักรยาน พาหนะสองล้อที่พาเราไปได้แทบทุกหนแห่ง
โดยไม่สิ้นเปลืองพลังงานอื่นใด เว้นแต่พลังงานจากน่องของผู้ปั่น
ทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายท่านเลือกใช้จักรยานเป็นพาหนะคู่ใจ
ในการขับไปส่งลูกที่โรงเรียนกันก็บ่อย ปั่นไปกินลมชมวิวในสวนสาธารณะกันก็มาก
     
     
อย่างไรก็ดี การใช้งานพาหนะชนิดนี้ก็ยังมีอันตรายแฝงอยู่
โดยเฉพาะส่วนของซี่ล้อจักรยานที่อาจมีเท้าเล็ก ๆ ของลูกหลง
เข้าไปให้มันปั่นจนทำลูกเล็กน้ำตานองกันได้


(ผอ.ศูนย์วิจัยฯ รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ )

ภัยที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นข้างต้น
รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยเพื่อสร้างความปลอดภัย
และป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี บอกว่า
เป็นเรื่องที่พ่อแม่หลายคนประมาท ทั้ง ๆ ที่ทราบดีว่า
เด็กกับจักรยานมีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บได้ง่าย
ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากพ่อแม่อุ้มเด็กนั่งซ้อนท้ายจักรยานของผู้ใหญ่ที่ไม่มีการป้องกัน
หรือความปลอดภัยที่ได้มาตรฐานดีพอ

 "ผมเชื่อว่าพ่อแม่ทุกคนรู้อยู่แก่ใจว่ามีความเสี่ยง แต่ก็ยังมีหลายท่านมองข้ามกันไป เห็นได้จาก
เวลาอุ้มลูกขึ้นนั่งจักรยาน รู้ว่าเท้าลูกอาจเข้าไปติดในซี่ล้อได้
แต่ก็เพียงเตือนลูกแค่ว่า กางขาไว้นะลูก กางขาไว้นะ จนสุดท้าย เด็กก็คือเด็ก
เท้าก็เข้าไปอยู่ซี่ล้อ เกิดการบาดเจ็บตามมา พ่อแม่ก็เป็นทุกข์ เพราะสงสารลูก" หัวหน้าศูนย์วิจัยฯ กล่าว
     
 สำหรับการบาดเจ็บของเด็กจากจักรยานที่พบได้บ่อยนั้น
หัวหน้าศูนย์วิจัยฯ ท่านนี้ เผยว่า มีอยู่ 2 อย่าง คือ การบาดที่ศีรษะ
และการบาดเจ็บจากเท้าที่เข้าไปในกงซี่ล้อ
โดยการบาดเจ็บที่ศีรษะนั้นเป็นสาเหตุสำคัญของการตายในเด็กบนจักรยานเลยทีเดียว
     
 ส่วนการบาดเจ็บจากเท้าที่เข้าไปในซี่ล้อจักรยาน
ทีมงานมีข้อมูลจากศูนย์วิจัยเพื่อสร้างความปลอดภัย และป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก ระบุว่า
ร้อยละ 5.7 ของการบาดเจ็บของเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปีที่มารับการตรวจที่ห้องฉุกเฉิน
 ในจำนวนนี้ร้อยละ 33 หรือ 1ใน 3 เกิดจากขาเข้าในซี่ล้อรถจักรยาน

ซึ่งการบาดเจ็บชนิดนี้มักเกิดขึ้นในเด็กเล็ก อายุเฉลี่ยของผู้บาดเจ็บเท่ากับ 4.7 ปี
ร้อยละ 62.5 ของเด็กที่บาดเจ็บมีอายุน้อยกว่า 5 ปี
ลักษณะการบาดเจ็บส่วนใหญ่จะเป็นการบาดเจ็บที่ผิวหนังโดยมีลักษณะแบบแผลถลอก แผลฉีกขาด


อย่างไรก็ดี ทั้งการบาดเจ็บที่ศีรษะ
และเท้าของลูกที่เข้าไปติดในซี่ล้อ สามารถป้องกันได้โดยใช้หมวกนิรภัย
และการใช้เบาะนั่งพิเศษสำหรับเด็กที่มีระบบยึดเหนี่ยวเด็กติดตัวไว้
     
ส่วนการบาดเจ็บจากเท้าเข้าไปในซี่ล้อให้ใช้ที่นั่งพิเศษสำหรับเด็กที่ออกแบบ
ให้มีที่วางเท้า ซึ่งในต่างประเทศมีใช้กันทั่วไป หรือถ้าแบบประหยัดเพียง
มีอุปกรณ์ป้องกันเท้าเข้าซี่ล้อเช่นเดียวกับล้อหลังมาติดตั้งที่ล้อหน้า
หรือติดตั้งที่วางเท้าเป็นเพียงท่อนไม้ หรือโลหะที่มีความยาวเพียงพอ
และวางได้ระดับที่เด็กจะวางเท้าลงได้ ก็จะช่วยป้องกันการบาดเจ็บได้มาก
     
"ในเด็กเล็ก พ่อแม่ไม่ควรพาลูกนั่งซ้อนหน้า หรือซ้อนท้ายจักรยานเลย
ส่วนเด็กอายุมากกว่า 9 เดือนขึ้นไปถึง 4 ปี แนะนำให้ใช้ที่นั่งพิเศษสำหรับเด็ก
และมีอุปกรณ์เสริมติดแน่นทั้งด้านหน้า และด้านหลัง
รวมทั้งเลือกใช้จักรยานมีที่กั้นล้อเพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่เท้า
หรืออุปกรณ์อื่น ๆ เช่น หมวกนิรภัย หรือที่ป้องกันการบาดเจ็บที่ข้อศอก และเข่า" รศ.นพ.อดิศักดิ์ฝาก

เห็นได้ว่า การบาดเจ็บจากจักรยาน โดยเฉพาะเท้าที่เข้าไปในซี่ล้อนั้น
เป็นสิ่งซึ่งไม่ควรจะเกิดขึ้นเลยถ้าพ่อแม่มีความรู้ ห่วงใยลูก และเข้าใจในคำว่าอุบัติเหตุ
ดังนั้นการเลือกใช้จักรยานควรมีอุปกรณ์ป้องกันที่ดี
แล้วความสุขในวันหยุดกับครอบครัวจะมีแต่รอยยิ้ม และเสียงหัวเราะตามมา
ที่มา
http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9530000165101
www.csip.org







วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

โครงการ ช่างอาสาซ่อมจักรยานให้นักเรียน นักศึกษา และบุคลากรทางการศึกษา

โครงการ ช่างอาสาซ่อมจักรยานให้นักเรียน นักศึกษา และบุคลากรทางการศึกษา

กิจกรรมครั้งที่ 6 ปี 2
สถานที่ โรงเรียนบ้านดินลาน หมู่15 ตำบล.ท่าช้าง อำเภอ บางกล่ำ จังหวัดสงลา 90110 
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2

ระยะเวลาของกิจกรรม วันที่ 15 กรกฏาคม 2555  เวลา 9.00น. – 15.00 น.

วัตถุประสงค์ เพื่อ ซ่อมจักรยานที่ชำรุดและไม่ได้มาตรฐานความปลอดภัย ให้กับนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษา
เพื่อ สร้างเสริมแรงจูงใจการใช้จักรยาน
เพื่อ ส่งเสริมการออกกำลังกาย เพื่อสุขภาวะที่ดีของนักเรียน
เพื่อ ลดการใช้เชื้อเพลิง
เพื่อ สิ่งแวดล้อมและสภาพอากาศที่ดี ต่อชุมชน

เป้าหมาย ซ่อมบำรุง เปลี่ยนอะไหล่ ที่จำเป็นให้กับจักรยานจำนวน 33 คัน (ตามที่ได้สำรวจเมื่อ วันที่ 4 กรกฏาคม 2555)

ผลที่คาดหวัง แก้ปัญหาการเดินทางระหว่างบ้านกับโรงเรียน ลดภาระค่าใช้จ่าย และเวลา ในการรับส่งนักเรียน ของผู้ปกครอง และจะมีผู้ใช้จักรยานมากขึ้

ขอบเขตของกิจกรรม ซ่อมเฉพาะจักรยานของนักเรียน และบุคลากรทางการศึกษา

วิธีการ ไม่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการซ่อม อุปกรณ์ทุกอย่างทุกชิ้น เกิดจากการบริจาค และจิตอาสาของทุกคน ไม่มี
ค่าตอบแทนใดๆต่อผู้ปฏิบัติงานทุกส่วน

ผู้เสนอโครงการ เครือข่ายจักยานหาดใหญ่
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม วิวัฒน์ วิทยาทันต์ , อาคเณย์ ปัญจเทพ
ฝ่ายจัดหาทุน วิวัฒน์ วิทยาทันต์ , อาคเณย์ ปัญจเทพ
ฝ่ายช่าง ช่างเล็ก , ช่างวุฒิ(คุณสราวุฒิ) ช่างนก (คุณวรากร) นายช่างสุบ(ทีมโคกเมา)
และทีมช่างจากหลายชมรม 
**************************************************************************


***ชาวจักรยานนัดพบกันที่ สวนหย่อมศุภสารรังสรรค์(เซี่ยงตึ๊ง) 


หาดใหญ่


เวลา 7.00น. ล้อหมุน เวลา 7.30น. 


เมื่อครั้งที่แล้วมีสมาชิกบางท่านไปรอตั้งแต่ 6โมงเช้า ต้องขออภัยที่


เกิดการเข้าใจผิดนะครับ..




Hatyai Car-free day 2020

หาดใหญ่ คาร์ฟรีเดย์ 22 กันยายน 2563