สารบัญ

วันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ความรู้ที่เชื่อถือได้กับเรื่อง-ตะคริว

ความรู้ที่เชื่อถือได้กับเรื่อง-ตะคริว
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


ตะคริว (อังกฤษ: Cramp) คือภาวะที่มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อโดยไม่คลายตัวออกตามปกติ มักเกิดขึ้นตามกล้ามเนื้อแขนและขา ปกติจะเกิดขึ้นเพียงไม่กี่นาที แต่บางรายอาจรุนแรงและนาน บางรายเป็นชั่วโมงหรือมากกว่านั้น ก่อให้เกิดความเจ็บปวดทรมาน แม้จะไม่ส่งผลอันตรายร้ายแรง แต่หากเกิดขึ้นระหว่างขับรถหรือว่ายน้ำ อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุและอันตรายถึงชีวิตได้ โดยทั่วไป ตะคริวมักเกิดกับนักกีฬาที่ออกกำลังหนักหรือมากเกินไป ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ และผู้สูบบุหรี่จัด


สาเหตุทั่วไปของตะคริวที่เกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อโครงร่าง หรือกล้ามเนื้อลาย มักเกิดจากการเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อ ระดับโซเดียมและโปรแตสเซียมในร่างกายต่ำ หรือจากการที่ร่างกายพบกับการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่ต่างกันมากอย่างรวดเร็ว ร่างกายขาดน้ำหรือเสียเหงื่อมาก ระดับเกลือในร่างกายต่ำ ส่วนตะคริวที่เกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อเรียบ อาจเกิดกับสตรีเวลาที่มีประจำเดือน หรือเกิดจากอาการกระเพาะหรือลำไส้อักเสบสาเหตุทั่วไปของตะคริวเกิดจากการเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อ ร่างกายพบกับการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่แตกต่างกันมากอย่างรวดเร็ว ร่างกายขาดน้ำและเกลือเพราะเสียเหงื่อมาก ระดับเกลือในร่างกายต่ำ ตะคริวยังเป็นอาการจากภาวะการตั้งครรภ์ หรือจากอาการป่วยของโรคไตและไทรอยด์ด้วย




ตะคริวกล้ามเนื้อเรียบ อาจเป็นอาการจากโรคเยื่อบุโพรงมดลูกขึ้นผิดที่ (Endometriosis) หรือปัญหาสุขภาพอื่น และอาจเกิดกับสตรีเวลาที่มีประจำเดือน (Menstrual cramps หรือ Period cramps)
ตะคริวกล้ามเนื้อโครงร่าง กล้ามเนื้อโครงร่าง หรือกล้ามเนื้อลาย มักเกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อน่อง ต้นขา หรืออุ้งเท้า ที่เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะมีอาการเจ็บปวดมาก


ตะคริวกล้ามเนื้อขา (Nocturnal leg cramp) มักเกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อขา ฝ่าเท้า หรือกล้ามเนื้อมัดอื่นในเวลาพักผ่อนยามค่ำคืน บ้างเรียก Night leg cramp ตะคริวประเภทนี้อาจเกิดขึ้นเพียงชั่วครู่ หรือนานหลายนาที และบางครั้งอาการเจ็บปวดยังคงต่อเนื่องแม้กล้ามเนื้อคลายตัวแล้วก็ตาม และส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ หรือวัยรุ่นที่ออกกำลังกายในเวลากลางคืน สาเหตุของตะคริวนี้ยังไม่แน่ชัด อาจเป็นเพราะร่างกายขาดน้ำ ระดับเกลือแร่ (แมกนีเซียม โปแตสเซียม โซเดียม และแคลเซียม) ต่ำ หรืออาจเพราะนั่งหรือนอนในท่าเดียวนานเกินไป สตรีมีครรภ์มักเกิดอาการตะคริวบริเวณกล้ามเนื้อน่องในเวลากลางคืน






การแก้ไขอาการ

การยืดกล้ามเนื้อที่เป็นตะคริวช่วยบรรเทาอาการได้ เช่น หากเกิดที่กล้ามเนื้อน่อง ให้เหยียดเข่าและกระดกปลายเท้าขึ้น หรือยืนกดปลายเท้ากับพื้น งอเข่าและโน้มตัวไปข้างหน้า จากนั้นให้ทายานวดคลึงเบาๆ หรือประคบด้วยน้ำอุ่นจะช่วยได้โดยเฉพาะที่กล้ามเนื้อท้อง



การป้องกัน

ควรมีการอบอุ่นร่างกายก่อนเล่นกีฬา ถ้าออกกำลังกายหนัก ควรดื่มน้ำและเกลือแร่ทดแทนให้เพียงพอ ไม่ควรอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานานๆ การฝึกการยืดกล้ามเนื้อบ่อยๆ อาจลดโอกาสการเกิดตะคริวได้ หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิกะทันหัน โดยเฉพาะผู้สูงอายุควรค่อยๆ ขยับแขนขาช้าๆ และหลีกเลี่ยงอากาศเย็นมาก หากเป็นบ่อย ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและแก้ไข







3 ความคิดเห็น:

Hatyai Cycling Group-เครือข่ายจักรยานหาดใหญ่ กล่าวว่า...

ตะคริวเป็นอาการหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง พบได้ในทุกกล้ามเนื้อแต่ที่มักพบได้บ่อยคือตะคริวที่กล้ามเนื้อน่อง แสดงอาการมักนานไม่เกิน 2 นาที แต่ในบางรายอาจนานถึง 5 นาทีหรือมากกว่า ตะคริวไม่ใช่อาการที่จะส่งผลทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้แต่ก็อาจทำให้เกิดอันตรายได้ถ้าเกิดอาการขณะกำลังว่ายน้ำหรืออาจเกิดอุบัติเหตุได้ถ้าเกิดอาการขณะกำลังขับรถ

ตะคริวไม่ใช่อาการที่จะเกิดในขณะที่เล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย ยังสามารถเกิดได้ทุกเวลา บางคนอาจมีอาการในขณะที่กำลังนอนหลับซึ่งทำให้เจ็บปวดทรมานจนรบกวนการนอนได้

สาเหตุการเกิดตะคริวมีได้หลายทฤษฏี ซึ่งอาจเกิดจากการสูญเสียแร่ธาตุแมกนีเซียมไปกับเหงื่อในขณะการออกกำลังเป็นเวลานานๆ หรือมีการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อนั้นๆ เป็นเวลานานๆ ทำให้ขาดการไหลเวียนเลือดขาดการนำออกซิเจนและแร่ธาตุไปที่กล้ามเนื้อนั้น หรือเกิดกับหญิงตั้งครรภ์ที่ต้องสูญเสียแร่ธาตุให้กับลูกตัวน้อยที่กำลังเติบโตอยู่ในท้อง หรือเกิดจากตัวยาบางชนิดที่ได้รับประทานเข้าไป การอาเจียนหรือท้องเสียก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สูญเสียแร่ธาตุแมกนีเซียมได้เช่นกัน นอกจากนั้นยังอาจเกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของเซลล์ประสาทและเส้นประสาทที่ควบคุมการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อนั้นๆ และประการสุดท้ายอาจเกิดจากการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อไม่ดีพอ ซึ่งมักพบในคนที่มีภาวะหลอดเลือดตีบ เช่น โรคเบาหวาน เป็นต้น1 แต่สาเหตุที่พบบ่อยคือ การกินอาหารชนิดเดียวซ้ำๆ ซากๆ การไดเอ็ท และการขาดน้ำ 2

หนทางการรักษาอาการตะคริว

การรักษาที่ดีและเห็นผลได้ชัดเจนคือ การยืดกล้ามเนื้อที่เกิดตะคริว หลักการยืดกล้ามเนื้ออย่างง่ายๆ คือการทำให้เกิดการเคลื่อนไหวในทิศทางตรงกันข้ามกับการเกร็งตัวที่มีการแสดงออกมา อาทิเช่น การเกิดตะคริวที่น่องจะทำให้เกิดการเกร็งปลายเท้าจิกชี้ลงพื้นดิน แก้โดยให้ทำการดันปลายเท้าให้กระดกขึ้นช้าๆ (ถ้ามีคนช่วยยืดให้ ดังรูปที่ 1) แต่ห้ามทำการกระตุกหรือกระชากรุนแรงอย่างรวดเร็ว เพราะจะเจ็บปวดจนกล้ามเนื้อฉีกขาดได้ หากเกิดตะคริวขณะอยู่เพียงลำพังให้พยายามนั่งยองๆ หรือนั่งเหยียดขาค้างที่เป็นตะคริวแล้วพยายามฝืนกระดกข้อเท้าขึ้นดังรูปที่ 2 และ 3 ตามลำดับ ค้างในท่านี้ไว้สักครู่อาการตะคริวที่น่องก็จะดีขึ้น เป็นต้น

Hatyai Cycling Group-เครือข่ายจักรยานหาดใหญ่ กล่าวว่า...

ป้องกันอย่างไรไม่ให้ตะคริวกลับมา

หากเกิดอาการตะคริวเพราะสูญเสียเหงื่อมากขณะออกกำลังกายอาจจำเป็นจะต้องมีการปรับสมดุลของน้ำและเกลือแร่ด้วยเครื่องดื่มเกลือแร่ (sport drink) ที่มีขายทั่วไปตามท้องตลาด แต่ถ้าจะทำน้ำเกลือแร่ด้วยตัวเองก็ทำได้ไม่ยาก โดยใช้เกลือ 1/3 ช้อนชา ผสมในน้ำ 500 ซี.ซี. จะบีบมะนาวหรือเติมน้ำหวาน ½ ช้อนชา เพื่อเพิ่มความอร่อยหรืออีกสูตรจะใช้น้ำผลไม้ ½ แก้วผสมน้ำสะอาดอีก ½ แล้ว แต่ทั้ง 2 สูตรควรแช่เย็นและไม่ควรผสมนานเกิน 6 ชั่วโมงเพราะอาจเสียได้ 3 ส่วนตัวผู้เขียนแนะนำน้ำสไปรท์หรือเซเว่นท์อัพใส่เกลือเล็กน้อยก็ทำให้ได้น้ำเกลือแร่ที่มีราคาถูกกว่าน้ำเกลือแร่ที่ขายทั่วไปในท้องตลาดและยังมีรสชาติอร่อยไม่แพ้กันอีกด้วย

การดื่มน้ำให้มากพอก็สามารถช่วยลดการเกิดตะคริวได้ เพราะเวลามีเหงื่อออก ร่างกายจะสูญเสียทั้งน้ำและเกลือแร่ อาจทำให้เซลล์กล้ามเนื้อขาดน้ำ ส่งผลให้เกิดเป็นตะคริวได้ จึงควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 1.5 ลิตร หรือ 8 แก้วต่อวัน

หากต้องมีการแข่งขันที่ต้องสูญเสียเหงื่อปริมาณมาก ควรมีการดื่มน้ำมากๆ ก่อนการแข่งขัน 2-3 วัน เพื่อให้เนื้อเยื่อสำรองน้ำให้เพียงพอในระหว่างการออกกำลังกาย อย่ารีรอเมื่อรู้สึกกระหายน้ำ การดื่มน้ำที่มีประสิทธิภาพคือดื่ม 2 ชั่วโมงก่อนการออกกำลังกายไม่เกิน 3 แก้ว จากนั้น 10-15 นาที ก่อนการออกกำลังกายไม่เกิน 2 แก้ว และทุกๆ 15-30 นาทีระหว่างการออกกำลังกายไม่เกิน 1 แก้ว ขอแนะนำน้ำดื่มสะอาดแช่เย็นก็เพียงพอแล้ว เพราะน้ำสะอาดสามารถเข้าสู่เนื้อเยื่อได้ง่ายและความเย็นจะทำให้รู้สึกสดชื่น3

กล้วย เป็นผลไม้ที่มีการพูดถึงบ่อยสำหรับการป้องกันการเกิดตะคริว ในนักกีฬาประเภทที่ต้องมีการใช้กำลังสูงหรือมีการออกกำลังต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ เช่น นักเทนนิสหรือนักฟุตบอล เพราะกล้วยเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยโพแทสเซียม แคลเซียมและแมกนีเซียม ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการทำงานของระบบประสาทและการหดตัวของกล้ามเนื้อ อีกทั้งยังเป็นผลไม้ที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงซึ่งจะถูกย่อยและดูดซึมได้อย่างรวดเร็ว หลังรับประทานเพียงไม่กี่นาทีก็จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและมากกว่าผลไม้ชนิดอื่น น้ำตาลที่เพิ่มขึ้นจะถูกนำไปใช้เป็นแหล่งพลังงานแทนคาร์โบไฮเดรตที่สะสมอยู่ในร่างกาย ทำให้สามารถออกกำลังกายได้นานๆ โดยไม่มีอาการเหนื่อย คนที่มิใช่นักกีฬาแต่ต้องการชดเชยแร่ธาตุที่สูญเสียไป ก็สามารถรับประทานกล้วยได้4

การยืดกล้ามเนื้อสม่ำเสมอ ให้ร่างกายคลายความตึงตัวมีความยืดหยุ่นตลอดเวลาเพื่อลดโอกาสการเกิดตะคริวได้

ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และพักผ่อนให้เพียงพอ

ผู้สูงอายุควรค่อยขยับแขนขาช้าๆ และหลีกเลี่ยงอากาศเย็นมากๆ อาจสวมใส่ถุงเท้าตอนนอนเพื่อป้องกันการเกร็งของเท้า

ในรายที่เป็นบ่อยๆ ควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและแก้ไข

Hatyai Cycling Group-เครือข่ายจักรยานหาดใหญ่ กล่าวว่า...

ยังทันสมัยอยู่เสมอ

Hatyai Car-free day 2020

หาดใหญ่ คาร์ฟรีเดย์ 22 กันยายน 2563