จิตอาสา โดยทั่วไปแล้ว...มีมาก และหาได้ไม่ยาก ดูได้จากเวลาที่มีสาธารณะภัยต่างๆ ก็จะมีจิตอาสาเข้าไปช่วยเหลือ ไม่ว่าจะงานเล็กงานใหญ่ หรืองานใดๆ จิตอาสาเหล่านี้ก็จะร่วมใจกันช่วยเป็นอย่างดี
ราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของ จิตสำนึกทางสังคม หรือจิตสำนึกสาธารณะว่า คือ การตระหนักรู้และคำนึงถึงส่วนรวมร่วมกัน หรือการคำนึงถึงผู้อื่นที่ร่วมสัมพันธ์เป็นกลุ่มเดียวกัน สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้ให้ความหมายว่า การรู้จักเอาใจใส่เป็นธุระและเข้าร่วมในเรื่องของส่วนรวมที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ มีความสำนึกและยึดมั่นในระบบคุณธรรม และจริยธรรมที่ดีงาม ละอายต่อสิ่งผิด เน้นความเรียบร้อย ประหยัดและมีความสมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ
ราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของ จิตสำนึกทางสังคม หรือจิตสำนึกสาธารณะว่า คือ การตระหนักรู้และคำนึงถึงส่วนรวมร่วมกัน หรือการคำนึงถึงผู้อื่นที่ร่วมสัมพันธ์เป็นกลุ่มเดียวกัน สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้ให้ความหมายว่า การรู้จักเอาใจใส่เป็นธุระและเข้าร่วมในเรื่องของส่วนรวมที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ มีความสำนึกและยึดมั่นในระบบคุณธรรม และจริยธรรมที่ดีงาม ละอายต่อสิ่งผิด เน้นความเรียบร้อย ประหยัดและมีความสมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ
จิตสำนึก (Conscious) เป็นการตระหนักรู้ตัว
หรือเป็นจิตส่วนที่รู้ตัว รู้ว่าทำอะไร อยู่ที่ไหน
เป็นอย่างไร
ส่วนคำว่า สาธารณะ(Public) เป็นการแสดงออกเพื่อทำประโยชน์ต่อสังคม ถ้าเป็นสิ่งของก็ต้องใช้ประโยชน์ร่วมกัน
เมื่อนำสองคำมารวม หมายถึง การตระหนักรู้ตน
ที่จะทำสิ่งใดเพื่อเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
จิตสาธารณะ หรือสำนึกสาธารณะ คือ การนำตัวเราเอง เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา "สาธารณะ" ใด ๆ เพื่อแก้ไขปัญหานั้น และมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะชักชวนคนอื่น ๆ เข้าไปร่วมด้วยกับการแก้ปัญหานั้น ๆ เพื่อประโยชน์สุขของทุกคน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น