น่าเห็นใจยิ่งตรงที่ครอบครัวซึ่งจำต้องใช้มอเตอร์ไซด์
ทั้งที่เป็นยานพาหนะที่เสี่ยงที่สุด ก็เพราะรายได้ไม่เพียงพอที่จะใช้รถประเภทอื่น
ที่มีความปลอดภัยกว่านี้ และทั้งยังสะดวกกว่าการหอบลูกๆขึ้นรถเมล์
หรือรถประจำทางอื่นๆ หรือหากจะพูดตรงๆก็คือ
บ้านเรานั้นมีระบบการบริการขนส่งสาธารณะ(ขนคน) ที่ล้มเหลว (รถน้อย-รอนาน-บริการห่วย)
http://www.csip.org/csip/autopage/show_page.php?h=118&s_id=144&d_id=144
อ่านเพิ่มเติมกรุณาคลิกที่นี่
ภาพจากเครือข่ายจักรยานหาดใหญ่ ขณะทำโครงการใส่หมวกให้น้อง ที่โรงเรียนบ้านหน้าควนลัง อ.หาดใหญ่
(บทความจาก ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและการป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก)
มอเตอร์ไซด์ ..มรณะภัยสำหรับเด็กๆ...???บทความโดย... ประจวบ ผลิตผลการพิมพ์
ทราบมั้ยครับว่า ไทยแลนด์แดนสไมล์ของเรานั้น
มีคนที่ตายเพราะอุบัติเหตุบนท้องถนนปีละกว่า 1หมื่น2พันคน
(หรือกว่าวันละ 33 คน)พิการกว่า 5พันคนต่อปี
ยิ่งเป็นวันหยุดยาว วันเทศกาลต่างๆ( เช่น วันปีใหม่-ตรุษจีน-สงกรานต์)
ตัวเลขข้างต้นก็จะเพิ่มขึ้นไปอีกถึง 2 เท่า
ส่วนความสูญเสียทางเศรษฐกิจคิดเป็นเงินถึงปีละกว่า 2แสน3หมื่นกว่าล้านบาท !
และที่น่าตกใจก็คือ อุบัติเหตุบนท้องถนนอันเป็นเหตุแห่งความเจ็บ ความพิการ
และความตายนั้น มีรถจักรยานยนต์มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยถึง กว่า 80 %
หลายท่านอาจสงสัยนะครับว่า ตัวเลขและสถิติอันน่าตกตะลึงนี้เกิดจากเหตุใด ?
รายละเอียดอาจมีมากมาย และโดยสรุปก็ไม่พ้น “ซิ่ง-เมา- ย่อหย่อน”นั่นคือการขับขี่ที่เร็วเกินไป-ฉวัดเฉวียน-เมาสุราในขณะขับขี่ หรือแม้จะไม่ซิ่งไม่เมา
แต่จำต้องใช้มอเตอร์ไซด์ไปทำงาน ,ซื้อของ,ส่งลูกไปโรงเรียน
แถมทั้งผู้ขับขี่และผู้ซ้อนท้ายไม่ใส่หมวกนิรภัย, หรือเด็กอายุไม่เกิน15 ที่กฏหมายห้ามไว้
กลับขับขี่ได้อย่างสบายใจ ในขณะที่เจ้าหน้าที่ก็ย่อหย่อน ขาดความเช้มงวดกวดขัน
ให้ผู้ขับขี่ปฏิบัติตามกฏหมาย ตัวเลขการเจ็บ พิการ และตาย จึงอยู่ในระดับสูงจนน่ากลัว...
วันจันทร์ที่ 20 กันยายน 2553 เวลา 13.45 น.
ณ ห้อง 708 ชั้น 7 อาคารเรียนและปฏิบัติการรวมด้านการแพทย์
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมเสนากันอย่างมากมาย
เช่น ศ.นพ.ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาลคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี,
ศ.ดร.พิชัย ธานีรณานนท์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์,
นายสมหวัง ทองขาวนักวิชาการขนส่งชำนาญการ สำนักสวัสดิภาพการขนส่ง,
นายปกรณ์ อนิวัตกูลชัยนักศึกษาปริญญาเอก สถาบัน AIT,
พ.ต.อ.พงษ์สันต์ คงตรีแก้วอาจารย์คณะตำรวจศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ,
นายพรหมมินทร์ กัณธิยะผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ (สคอ.).,
นายสุเทพ ขันธโสภา ผู้จัดการส่วนบริหารทั่วไป บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัย..ฯลฯ.......
โดยมีปรีชา ชูทรัพย์คณะอนุกรรมการสร้างความเข้มแข็งชุมชนด้านป้องกันอุบัติภัย
และสาธารณภัย กปอ. , ดร.เตือนใจ ฟุกุดะนักวิจัยอาวุโส มหาวิทยาลัยนิฮอน ประเทศญี่ปุ่น
เป็นประธานในที่ประชุม และผม (หัวหน้าศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและ
ป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก )เป็นผู้ดำเนินรายการ
งานเสวนาครั้งนี้เป็นไปอย่างคึกคัก
ท่านทั้งหลายต่างระดมความรู้และความคิดเห็นอย่างน่าสนใจเป็นที่สุด
จึงขอย่นย่อนำมาเล่าสู่กันอ่านในงวดนี้ครับ.....
แม้...อุบัติเหตุจราจร ที่ เกิดจากมอเตอร์ไซค์
จะทำให้เด็กๆของเราต้องเจ็บ-ตาย และพิการปีหนึ่งๆเป็นจำนวนมาก !!
แต่ยอดขายในแต่ละปี มอเตอร์ไซค์สูงกว่ารถชนิดอื่นๆตลอดมา
เรียกได้ว่าซื้อง่ายขายคล่อง มอเตอร์ไซค์ จนกลายเป็นพาหนะหลักของครอบครัวไทย
น่าเห็นใจยิ่งตรงที่ครอบครัวซึ่งจำต้องใช้มอเตอร์ไซด์
ทั้งที่เป็นยานพาหนะที่เสี่ยงที่สุด ก็เพราะรายได้ไม่เพียงพอที่จะใช้รถประเภทอื่น
ที่มีความปลอดภัยกว่านี้ และทั้งยังสะดวกกว่าการหอบลูกๆขึ้นรถเมล์
หรือรถประจำทางอื่นๆ หรือหากจะพูดตรงๆก็คือ
บ้านเรานั้นมีระบบการบริการขนส่งสาธารณะ(ขนคน) ที่ล้มเหลว (รถน้อย-รอนาน-บริการห่วย)
ผู้คนบ้านเราจึงตกอยู่ในภาวะจำใจต้องเสี่ยง
กระทั่งผู้มีอำนาจแก้ไขอาจเห็นเป็นเรื่องธรรมด๊า...ธรรมดา !
1.เสี่ยงตั้งแต่แรกเกิด!! พบเห็นกันมากมาย ที่ในเด็กบ้านเราต้องเสี่ยงกันตั้งแต่แรกเกิด !
ด้วยแม่หลังคลอดต้องอุ้มทารกน้อยซ้อนมอเตอร์ไซด์ที่มีพ่อเป็นผู้ขับขี่
ทางศพด.(ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก
คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ) มีความเห็นว่า ทารก
(ตั้งแต่: แรกเกิด -เด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ปี ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะให้โดยสารรถจักรยานยนต์
2.ขับขี่เป็นตั้งแต่เด็ก!! ตามกฎหมายเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ไม่สามารถมีใบขับขี่ได้
แต่สิ่งที่พวกเราเห็นกันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันก็คือ เด็กอายุน้อยกว่า15
(แม้เพียง 8-9 ขวบก็เคยพบเห็น) ขับขี่กันหน้าตาเฉย (โดยไม่มีใบขับขี่ )
นอกจากนั้น พวกวัย15 ขึ้น(โดยไม่รู้ว่ามีใบขับขี่หรือไม่)
หลายๆรายก็มีพฤติกรรมเสี่ยงอันตราย ขับขี่ด้วยความเร็วสูง
ขับขี่แข่งกันอย่างโลดโผน แซงซ้ายปาดขวา ปาดหน้าอย่างกระชั้นชิด ...ฯลฯ
ทางศพด.(ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก
คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ) มีความเห็นว่า
ทารก(ตั้งแต่: แรกเกิด -เด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ปี
ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะให้โดยสารรถจักรยานยนต์
รวมทั้งเห็นว่าไม่ควรอนุญาตให้เด็กเล็ก /เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี
โดยสารรถจักรยานยนต์ โดยมีกฎหมายห้ามโดยสารอย่างชัดเจน
ในขณะเดียวกัน ก็สนับสนุนให้
เพิ่มการวิจัยทางหลักกลศาสตร์เพื่อผลิตนวัตกรรมป้องกันการบาดเจ็บ
ที่เหมาะสมสำหรับเด็กทารก-เด็กเล็ก- /เด็กก่อนวัยเรียน ( 2-6 ปี )
และให้โดยสารได้เฉพาะเมื่อเด็กสามารถเหยียบบนที่วางเท้าได้ และอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย
แล้วจะต้องประกอบด้วย ที่นั่งนิรภัย หรือระบบยึดเหนี่ยวอื่นๆ
ร่วมกับการจำกัดความเร็วรถ เพื่อการเดินทางอย่างปลอดภัยของเด็กวัยนี้ในอนาคต
และอย่าลืมสวมหมวกนิภัยสำหรับเด็กสำหรับ 2 ขวบขึ้นไป
ขนาดเส้นรอบวงหมวกนิรภัยที่เหมาะสม- อายุ 2 - 4 ปี = ขนาดหมวก 500 มม.
- อายุ 5 - 8 ปี = ขนาดหมวก 530-540 มม.
- อายุ >8ปี = ขนาดหมวก 570-580 มม.
(ส่วนเด็ก 9 เดือนขึ้นไป อาจสวมหมวกนิรภัยจักรยานเป็นอุปกรณ์เสริมเพิ่มเติม)
สิ่งที่สำคัญคือ สอนให้เด็กรู้ว่าหมวกกันน็อคมีความสำคัญมาก
สามารถป้องกันการกระแทกของศีรษะขณะเกิดอุบัติเหตุได้
แต่ต้องสวมหมวกกันน็อคให้ถูกวิธีด้วยการเลือกขนาดให้พอดีกับศีรษะ และรัดสายรัดคางให้แน่น
หมวกกันน็อคที่ดีต้องใส่พอดีศีรษะ มีสายรัดที่ดีไม่หลุดง่าย
เปลือกนอกมีความแข็งแรง ต้านทานการเจาะทะลุได้ เนื้อในสามารถดูดซับพลังงาน
ป้องกันแรงจากการกระแทกได้ น้ำหนักหมวกมีความสำคัญต่อเด็กมาก
เนื่องจากกล้ามเนื้อต้นคอเด็กยังไม่แข็งแรงและศีรษะเด็กมีสัดส่วนที่ใหญ่
ดังนั้นหมวกที่หนักจะทำให้เกิดการหักของกระดูกต้นคอเมื่อเกิดการชนกระแทกได้
3.. ยิ่งเสี่ยงมากเมื่อ... เข้าสู่วัยรุ่น!! ...วัยรุ่น นิยมใช้มอเตอร์ไซค์เป็นพาหนะแต่..
ด้วยความเป็นมือใหม่เพิ่งหัด ขาดประสบการณ์
ตัดสินใจแก้ปัญหาเฉพาะหน้าต่างๆยังไม่ ดีพอ..ไม่ชอบใส่หมวกกันน็อค
ซ้ำยังใจร้อน มีความเครียด บวกแรงยุยงจากเพื่อนๆวัยรุ่น
ยิ่งดื่มเหล้าและใช้ยาก่อนขับขี่ ก็ยิ่งเสี่ยงทั้งต่อชีวิตของตนและชีวิตของผู้อื่น
** วัยรุ่นควรมีหลักสูตรการอบรมให้ความรู้ ควบคู่ไปกับการฝึกทักษะการขับขี่
ที่ปลอดภัยฝึกการรับรู้ความเสี่ยงที่เหมาะสม
โดยหลักสูตรอาจแบ่งเป็น 2ช่วงวัยเพื่อความเหมาะสมก็ได้
(เช่นในเด็กอายุ 13-15 ปี และ เด็กอายุ 16 - 18 ปี)
เพิ่มมาตรการเพื่อความปลอดภัยสำหรับวัยรุ่น เช่น
ในช่วง 2-3 เดือนแรกของการขับขี่
จะต้องมีผู้ใหญ่คอยควบคุมดูแล และเพิ่มความปลอดภัย
ด้วยการกำหนดถนนที่ขับขี่ได้, ห้ามขับกลางคืน, ไม่ให้มีเด็ก/เพื่อนซ้อนท้าย
ยังมีความคิดเห็นจากงานเสวนาครั้งนี้ที่น่าสนใจอีกหลากหลาย เช่น
เห็นว่าทางรัฐฯได้ทุ่มทุนไปถึง 4 แสนล้าน เพื่อสร้างถนนให้เยอะๆเข้าไว้
ในขณะที่ไม่สนใจในเรื่องการลงทุน ให้นักเรียนมีรถรับส่งไป-กลับโรงเรียน
พยายามโปรโมท โครงการ “สร้างถนนปลอดฝุ่นแทนที่สร้างถนนปลอดภัย !”
(ถนนสะอาดไร้ฝุ่น แต่ ไม่ปลอดภัย เป็นเหตุให้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ต้องตายกันอยู่เสมอ
ต่อให้ไม่มีฝุ่นสักธุลีเดียวก็ไร้ค่าอย่างสิ้นเชิง)
ยังมีอีกหลายความเห็นที่น่าสนใจ และเป็นจริงได้ในทางปฏิบัติ เช่น การสร้างจิตสำนึกร่วมกัน
ด้วยการให้เพื่อนๆหรือญาติที่มีรถไปรับกลับมา (แล้วอาจลงขันช่วยเรื่องค่าใช้จ่ายกัน)
มีงานวิจัยก่อนหน้านี้สัก 30 ปี รพ.วชิระกับ รพ.ศิริราช ร่วมทำการศึกษาใน กทม.พบว่า
แม้แต่รถรับส่งนักเรียนที่เราเรียกว่ารถตู้ ก็ยังมีความปลอดภัยมากกว่า
รถเก๋งที่พ่อแม่พาลูกไปโรงเรียน (ใน กทม.)
ยังครับ..ยังมีอีกหลายทัศนะที่น่าสนใจ มีคุณค่ามากและสมควรนำมาปฎิบัติ
และช่วยกันรณรงค์ให้หน่วยงานของรัฐได้เห็นถึงเห็นถึงข้อดี เพื่อก้าวเข้ามาทุ่มเทกับ
การแก้ปัญหาอย่างจริงจังยิ่งกว่าทุกวันนี้ครับ
*********************************************************************
ข้อมูล-บทความโดย..http://www.csip.org
เท้าลูกใน "ซี่ล้อจักรยาน" ภัยที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้ามเมื่อเอ่ยถึงจักรยาน พาหนะสองล้อที่พาเราไปได้แทบทุกหนแห่ง
โดยไม่สิ้นเปลืองพลังงานอื่นใด เว้นแต่พลังงานจากน่องของผู้ปั่น
ทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายท่านเลือกใช้จักรยานเป็นพาหนะคู่ใจ
ในการขับไปส่งลูกที่โรงเรียนกันก็บ่อย ปั่นไปกินลมชมวิวในสวนสาธารณะกันก็มาก
อย่างไรก็ดี การใช้งานพาหนะชนิดนี้ก็ยังมีอันตรายแฝงอยู่
โดยเฉพาะส่วนของซี่ล้อจักรยานที่อาจมีเท้าเล็ก ๆ ของลูกหลง
เข้าไปให้มันปั่นจนทำลูกเล็กน้ำตานองกันได้
(ผอ.ศูนย์วิจัยฯ
รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ )
ภัยที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นข้างต้น
รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยเพื่อสร้างความปลอดภัย
และป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี บอกว่า
เป็นเรื่องที่พ่อแม่หลายคนประมาท ทั้ง ๆ ที่ทราบดีว่า
เด็กกับจักรยานมีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บได้ง่าย
ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากพ่อแม่อุ้มเด็กนั่งซ้อนท้ายจักรยานของผู้ใหญ่ที่ไม่มีการป้องกัน
หรือความปลอดภัยที่ได้มาตรฐานดีพอ
"ผมเชื่อว่าพ่อแม่ทุกคนรู้อยู่แก่ใจว่ามีความเสี่ยง แต่ก็ยังมีหลายท่านมองข้ามกันไป เห็นได้จาก
เวลาอุ้มลูกขึ้นนั่งจักรยาน รู้ว่าเท้าลูกอาจเข้าไปติดในซี่ล้อได้
แต่ก็เพียงเตือนลูกแค่ว่า กางขาไว้นะลูก กางขาไว้นะ จนสุดท้าย เด็กก็คือเด็ก
เท้าก็เข้าไปอยู่ซี่ล้อ เกิดการบาดเจ็บตามมา พ่อแม่ก็เป็นทุกข์ เพราะสงสารลูก" หัวหน้าศูนย์วิจัยฯ กล่าว
สำหรับการบาดเจ็บของเด็กจากจักรยานที่พบได้บ่อยนั้น
หัวหน้าศูนย์วิจัยฯ ท่านนี้ เผยว่า มีอยู่ 2 อย่าง คือ การบาดที่ศีรษะ
และการบาดเจ็บจากเท้าที่เข้าไปในกงซี่ล้อ
โดยการบาดเจ็บที่ศีรษะนั้นเป็นสาเหตุสำคัญของการตายในเด็กบนจักรยานเลยทีเดียว
ส่วนการบาดเจ็บจากเท้าที่เข้าไปในซี่ล้อจักรยาน
ทีมงานมีข้อมูลจากศูนย์วิจัยเพื่อสร้างความปลอดภัย และป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก ระบุว่า
ร้อยละ 5.7 ของการบาดเจ็บของเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปีที่มารับการตรวจที่ห้องฉุกเฉิน
ในจำนวนนี้ร้อยละ 33 หรือ 1ใน 3 เกิดจากขาเข้าในซี่ล้อรถจักรยาน
ซึ่งการบาดเจ็บชนิดนี้มักเกิดขึ้นในเด็กเล็ก อายุเฉลี่ยของผู้บาดเจ็บเท่ากับ 4.7 ปี
ร้อยละ 62.5 ของเด็กที่บาดเจ็บมีอายุน้อยกว่า 5 ปี
ลักษณะการบาดเจ็บส่วนใหญ่จะเป็นการบาดเจ็บที่ผิวหนังโดยมีลักษณะแบบแผลถลอก แผลฉีกขาด
อย่างไรก็ดี ทั้งการบาดเจ็บที่ศีรษะ
และเท้าของลูกที่เข้าไปติดในซี่ล้อ สามารถป้องกันได้โดยใช้หมวกนิรภัย
และการใช้เบาะนั่งพิเศษสำหรับเด็กที่มีระบบยึดเหนี่ยวเด็กติดตัวไว้
ส่วนการบาดเจ็บจากเท้าเข้าไปในซี่ล้อให้ใช้ที่นั่งพิเศษสำหรับเด็กที่ออกแบบ
ให้มีที่วางเท้า ซึ่งในต่างประเทศมีใช้กันทั่วไป หรือถ้าแบบประหยัดเพียง
มีอุปกรณ์ป้องกันเท้าเข้าซี่ล้อเช่นเดียวกับล้อหลังมาติดตั้งที่ล้อหน้า
หรือติดตั้งที่วางเท้าเป็นเพียงท่อนไม้ หรือโลหะที่มีความยาวเพียงพอ
และวางได้ระดับที่เด็กจะวางเท้าลงได้ ก็จะช่วยป้องกันการบาดเจ็บได้มาก
"ในเด็กเล็ก พ่อแม่ไม่ควรพาลูกนั่งซ้อนหน้า หรือซ้อนท้ายจักรยานเลย
ส่วนเด็กอายุมากกว่า 9 เดือนขึ้นไปถึง 4 ปี แนะนำให้ใช้ที่นั่งพิเศษสำหรับเด็ก
และมีอุปกรณ์เสริมติดแน่นทั้งด้านหน้า และด้านหลัง
รวมทั้งเลือกใช้จักรยานมีที่กั้นล้อเพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่เท้า
หรืออุปกรณ์อื่น ๆ เช่น หมวกนิรภัย หรือที่ป้องกันการบาดเจ็บที่ข้อศอก และเข่า" รศ.นพ.อดิศักดิ์ฝาก
เห็นได้ว่า การบาดเจ็บจากจักรยาน โดยเฉพาะเท้าที่เข้าไปในซี่ล้อนั้น
เป็นสิ่งซึ่งไม่ควรจะเกิดขึ้นเลยถ้าพ่อแม่มีความรู้ ห่วงใยลูก และเข้าใจในคำว่าอุบัติเหตุ
ดังนั้นการเลือกใช้จักรยานควรมีอุปกรณ์ป้องกันที่ดี
แล้วความสุขในวันหยุดกับครอบครัวจะมีแต่รอยยิ้ม และเสียงหัวเราะตามมา
ที่มา
http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9530000165101
www.csip.org