จักรยานกับงานภาคสนาม
| ||
นาวาโทหญิง ปานะรี คชโคตร
|
จากการที่ผู้เขียนได้เข้ารับ การศึกษา หลักสูตรนายทหารอาวุโส ที่โรงเรียนนายทหาร อาวุโส สถาบันวิชาการทหารเรือชั้นสูง เมื่อ เมษายน ๒๕๔๘ ทำให้ผู้เขียนได้มีโอกาสศึกษา ค้นคว้าเรื่องที่สนใจอยู่หลายๆ เรื่อง หนึ่งในนั้นก็มีเรื่องของการนำรถจักรยานมาใช้งานภาค สนาม ในกองทัพ ดังที่จะนำเสนอต่อไปนี้
ผู้เขียนได้รวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมทั้งในหนังสือและในอินเทอร์เน็ต ยิ่งพบว่าเป็นเรื่องที่ ี่น่าสนใจมากเพราะสถานการณ์ปัจจุบันราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวด เร็วเป็นสัญญาณ เตือนภัยที่ควรระวังและเตรียมพร้อมรับมือกับวิกฤตที่กำลังจะเกิดขึ้นอย่าง หลีกเลี่ยงไม่ได้กอง กำลัง ทหารที่ไม่ต้องพึ่งพาน้ำมัน จึงเป็นเรื่องที่ น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง
ตารางเปรียบเทียบให้เห็นถึงคุณประโยชน์ของการใช้รถจักรยาน
ประเภทของพาหนะ | น้ำหนักบรรทุก (กก.) | ระยะทางที่ได้ (กม./ซม.) | ความเร็ว (กม./ ซม.) |
ความสิ้นเปลือง/คน/วัน
|
พลเดินเท้า | ๒๒.๖๘ | ๔๐.๒๓ | ๔.๘๓ | เสบียง ๑.๓๖ กก. ออกซิเจน ๑๐.๘๙ กก. |
รถจักรยานยนต์ | ๔๕.๓๖ | ๑๖๐.๙๓ | ๖๔.๓๗ |
เสบียง ๑.๓๖ กก.
ออกซิเจน ๑๑.๓๔ กก. เชื้อเพลิง ๒๔.๕๕ กก./ น้ำมัน+ถังสำรอง |
รถจักรยาน | ๒๒.๖๘ | ๑๒๐.๗๐ | ๑๖.๐๙ | เสบียง ๑.๓๖ กก. ออกซิเจน ๑๑.๓๔ กก. |
จากตารางเปรียบเทียบด้านบนจะพบว่าถึงแม้การใช้รถจักรยานยนต์จะได้ระยะทาง น้ำ
หนักบรรทุกและความเร็วที่เหนือกว่า รถจักรยานทุกอย่างแต่เมื่อดูอัตราความสิ้นเปลืองจะเห็น
ว่าต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิง และจำเป็นต้องมีน้ำมันสำรอง ดังนั้นหากน้ำมันหมดหรือหาที่เติมน้ำ มันไม่ได้ รถจักรยานยนต์ ก็จะกลายเป็นภาระของผู้ขับขี่ทันที
ในขณะที่การใช้รถจักรยานจะสามารถทำระยะทางได้มากกว่าประมาณสามเท่า และ เร็ว กว่าเกือบสี่เท่าของการเดินด้วยเท้า อีกทั้งง่ายต่อการบำรุงรักษา ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำมัน และไม่ ต้องยุ่งยากหาจุดเติมน้ำมันอีกด้วย และด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันทำให้รถจักรยาน มี น้ำหนักเบามากบางคันมีน้ำหนักแค่ ๑๓.๕๕ กิโลกรัม สามารถพับจากขนาดปกติเป็นขนาด พกพา(๓�x๓�x๑') โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือ ได้ภายในเวลา ๓๐ วินาที จึงสะดวกในการบรรทุก ขนย้ายไม่ว่าจะ ด้วยรถบรรทุก รถไฟ หรืออากาศยาน และง่ายต่อการนำติดตัวในขณะโดดร่ม
่อีก ด้วย ที่สำคัญคือ มีอัตรา ความปลอดภัยสูงต่อการใช้เพื่อเคลื่อนที่ในพื้นที่ที่มีกับระเบิด ซึ่ง มักตั้งน้ำหนักไว้สำหรับ ดักคนหรือรถถังเท่านั้น หากใช้รถจักรยานแทนก็จะมีการถ่ายเทน้ำ หนักไปที่ล้อหน้าและ ล้อหลัง น้ำหนักจึงไม่ตรงกับที่ข้าศึกตั้งกับระเบิดดักไว้
แทบไม่น่าเชื่อว่าประเทศที่ได้ชื่อว่ามีอาวุธยุทโธปกรณ์ทันสมัย ไฮเทคอยู่ชั้นแนวหน้า เช่น สหรัฐ ฯ สหราชอาณาจักร สมาพันธรัฐสวิส และญี่ปุ่น ได้มีการใช้รถจักรยานในงานภาค สนามของกองทัพตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบันนี้
เริ่มตั้งแต่สหราชอาณาจักรมีการให้พลทหารราบใช้รถจักรยาน ๒ ล้อ ในการปฏิบัติ งานตั้งแต่ต้นปี พ.ศ.๒๔๓๑ อีก ๘ ปีต่อมา (พ.ศ.๒๔๓๙) สหรัฐ ฯ ได้จัดตั้งหน่วยรถจักรยาน ขึ้นเพื่อใช้ในสงคราม สเปน-อเมริกา ใช้ชื่อว่า Buffalo Soldier Unit สังกัดหน่วย 25th Infantry Bicycle Corps และยังพบว่ามีอัตราการเพิ่มการใช้รถจักรยานในกองทัพสหรัฐฯ จาก ๑๗,๐๐๐ คัน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๑ เป็น ๖๐,๐๐๐ คัน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ และในช่วงสงครามเวียดนามกองทัพสหรัฐฯ ได้ใช้รถจักรยานเป็นพาหนะอันดับต้น ๆ ในการ เดิน ทางทั้งในเวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้
ยิ่งไปกว่านั้นในปัจจุบันนี้กองทัพของสมาพันธรัฐสวิสยังได้นำรถจักรยานมาใช้ในกรม
ทหารราบรถจักรยาน (Regiment of Bicycle Infantry) ถึง ๕ หน่วยอีกด้วย โดยเริ่มก่อตั้ง
เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๕ กำลังทหารสองล้อนี้เป็นกำลังสำคัญหน่วยหนึ่งในการป้องกันประเทศ ใน บริเวณที่ราบสูง เชิงเทือกเขาแอลป์ที่มีชายแดนยาว ๓๐๐ กิโลเมตร ของ สมาพันธรัฐสวิส ใน กรณีที่ถูกรุกรานจากนอกประเทศ กำลังทหารสองล้อนี้จะทำหน้าที่เป็นหน่วยกองโจรคอยชะลอ หรือหยุดยั้งการรุกคืบ ของกำลังทหารข้าศึก ลาดตระเวนและหาข่าว ต่อต้านรถถัง เป็นต้น เนื่องจากเป็นหน่วยที่ปฏิบัติ งานได้อย่างเงียบ ๆ มีความคล่องตัวในการเคลื่อนที่ และ สามารถบรรทุกยุทธสัมภาระ ได้โดยไม่ จำเป็นต้องเติมเชื้อเพลิง ระหว่างทางกองกำลัง เหล่า นี้จึง เหมาะ อย่างยิ่งต่อการ ลาดตระเวนระยะไกลนอกเหนือจากภารกิจในการป้องกัน ประเทศ ในยามสงครามแล้วกำลังทหารหน่วยนี้ยังได้ หมุนเวียนไปให้การสนับสนุนรัฐบาลกลางในฐานะ ชุด ตอบโต้-จู่โจมเคลื่อนที่เร็วเสริมกำลังตำรวจ ใน การ รักษาความปลอดภัยในนคร เจนีวา และเมืองใหญ่ ๆ ของสมาพันธรัฐ สวิสด้วยนอกจากนี้ยัง มีการใช้ในประเทศที่พัฒนา แล้วอีก หลายประเทศถ้ามีโอกาสผู้เขียนจะค้นคว้ามาเล่าสู่กันฟัง เพิ่ม เติมต่อไป
บรรณานุกรม
http://en.wikipedia.org/wiki/bicycle infantry
คอมมานโดสองล้อแห่งสวิสเซอร์แลนด์. สมรภูมิ. มี.ค.๔๕
http://en.wikipedia.org/wiki/bicycle infantry
คอมมานโดสองล้อแห่งสวิสเซอร์แลนด์. สมรภูมิ. มี.ค.๔๕
เครดิต-- นาวิกศาสตร์ ISSN 0125-4324 ปีที่ ๘๙ เล่มที่๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๙ http://www.navy.mi.th/navic/document/890803a.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น