ปั่นจักรยานอย่างไรให้มีความสุข
-
อย่างไรถึงจะเรียกว่า “มีความสุข” คงหาคำตอบได้ไม่ง่ายนัก
เพราะนึกไม่ออกเลยว่าจะปั่นให้มีสุขได้อย่างไร ในเมื่อความจริงแล้วขณะที่ปั่นเราจะพบกับความร้อน
เหงื่อ เหนื่อย หมดแรง ฯลฯ
ตลอดการปั่นไม่ว่าจะปั่นใกล้หรือไกล โดยเฉพาะปั่นทางไกล..
-
แต่ก็ไม่สิ้นความพยายามหาทางออกในเรื่องนี้ โดยการเปลี่ยนคำพูดเสียใหม่ว่า “ปั่นจักรยานอย่างไรไม่ให้มีความทุกข์” แบบนี้คงหาคำตอบได้ง่ายกว่า
-
เพราะกับการปั่นจักรยานแล้ว
ผู้คนทั่วๆไปจะนึกถึงแต่ความไม่สบายตัว..ความร้อน...ดังที่กล่าวมาแล้ว...แถมท้ายที่น่ากลัวที่สุดก็คือ
อุบัติเหติ ตั้งแต่เบาๆจนถึงรุนแรง...
-
เพราะฉะนั้นแล้ว “การขี่จักรยานอย่างไรไม่ให้เป็นทุกข์” ก็เอาร่างกายของเราเองมาเป็นจุดเริ่มต้น
อันดับต้นๆไม่พ้นเรื่องอาหาร คือคนเราต้องกิน
แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะออกปั่นอย่างมีความสุขขณะที่กำลังหิว โดยเฉพาะพวกแป้ง
ไขมัน น้ำตาลบ้าง...แต่ก็ต้องไม่เกินความต้องการของร่างกาย
ซึ่งแค่ไหนนั้นคงหาความรู้ได้จากรอบๆตัวทั่วไป คิดไม่ออกก็ กินแต่พอดี
เอากลางๆไว้ก่อน พอเหมาะ พอดีกับการปั่นครั้งนั้นๆ ที่สำคัญที่สุดคือ
เมื่อรู้สึกหิวต้องกินทุกครั้ง..แล้วค่อยปั่นต่อ..
-
มักจะมีหลายคนบ่นว่าเหนื่อย หรือไม่มีแรงปั่น
ในข้อนี้ตัดเรื่องใจสู้ออกไปก่อนเหราะมีหลายคนที่ใจเกิน100แต่ร่างกายไม่ไหวจริงๆ
จนกระทั่งบางคนเป็นลมหมดสติ บาดเจ็บร่างกายส่วนต่างๆเพราะทนต่อการใช้กำลังเกินขีดความสามารถของร่างกายที่จะรับได้
-
เรื่องนี้ก็แก้ไขและป้องกันได้ โดยการปั่นเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอหรือจะเรียกว่า”การซ้อม”ก็ได้
การปั่นเป็นประจำจะทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น ทนต่อสภาพอากาศ ความร้อนต่างๆได้ดีขึ้น
เป็นอันว่า ปั่นให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้อย่างน้อยสัปดาห์ละ4วัน
ทำได้แบบนี้ร่างกายเราก็จะแข็งแรงขึ้นเวลาปั่นก็จะเหนื่อยน้อยลง...
-
การที่เราจะซ้อมปั่นให้ได้บ่อยครั้งอย่างต่อเนื่องได้นั้น คุณจะต้องเสาะแสวงหา”แรงจูงใจ” จากคนรอบข้าง เช่นเพื่อญาติพี่น้อง
เพื่อคนรัก เพื่อปั่นสู้โรค เพื่อฮีโร่ในดวงใจ ฯลฯ
-
-
เมื่อเรามีแรงจูงใจมากพอที่จะทำให้เราออกปั่นได้มากและบ่อยครั้งขึ้น
คุณก็จะพบกับปัญหาใหม่ก็คือ ฤดูกาล ที่เปลี่ยนไปเป็นประจำทุกปี..
-
คงมีน้อยคนมากที่จะชอบปั่นกลางสายฝน
เพราะนอกจากจะไม่ดีต่อสุขภาพของเราแล้วยังไม่ดีต่อรถจักรยานคันเก่งของเราอีกด้วย..
-
แต่ก็จะใช่ว่าไม่สามารถปั่นได้เมื่อฤดูฝนมาเยือน เพียงแต่เราต้องใช้ “เทรนเนอร์” ปั่นอยู่กับที่
ที่บ้าน...ตลอดช่วงที่ฝนตกหนัก
-
หากฝนตกไม่หนักมาก แค่พอแฉะๆชื้นๆ
อยากให้คุณทดลองออกไปปั่นพร้อมกับเสื้อกันฝนแบบครึ่งตัว
คุณจะได้พบกับความแปลกใหม่อีกมากมาย เช่น สายหมอก,รุ้งกินน้ำ และช่วงหน้าฝนนี่แหละ
จำไว้เลยว่า “ฟ้าหลังฝนเวลากลางวันมันสวยมากๆ”
-
ประสบปัญหาเรื่องฝนในฤดูฝนไปแล้ว ก็ใช่ว่าหน้าร้อนจะไม่มีทุกข์
ปัญหาของหน้าร้อนก็ไม่พ้นแสงแดด แต่รู้สึกว่า
เราจะรับมือกับหน้าร้อนได้ง่ายกว่าหน้าฝน
-
เช่นเตรียมใส่หมวกแบบที่ปิดทั้งใบหน้า หรือใช้ผ้าบัฟ
เพียงเท่านี้เราก็สามารถรับมือกับแสงแดดแรงๆได้ดี..
-
อุปกรณ์ที่จำเป็นเพิ่มเติมก็เช่น แว่นตา ปลอกแขน,ขา,ถุงมือ,ครีมกันแดด.......
-
ที่สำคัญที่สุดที่เรามักจะลืมและไม่ให้ความสำคัญคือ การเสียน้ำจากร่างกาย
แดดแรงๆนี่ทำให้เราเวียนหัว หน้ามืดเป็นลม และเป็นอันตรายอย่างมาก เราควรจะจิบน้ำบ่อยๆ...ตลอดการปั่นขณะแสงแดดแรงๆ...และรู้จักขีดจำกัดของตัวเอง
-
อีกวิธีหนึ่งที่เป็นทางเลือกที่ดี คือการเลือกเวลาปั่น เช่นหลีกเลี่ยงการปั่นช่วง11.00น-14.00น
-
เพียงแค่นี้แสงแดดก็จะเป็นเรื่องเล็กสำหรับการปั่นให้มีความสุข
- ฤดูหนาวน่าจะเป็นฤดูที่เป็นมิตรกับนักปั่น...เพียงเตรียมเสื้อหนาๆเข้าไว้ใส่เสื้อยืดแขนยาว กางเกงขายาว ก็น่าจะเพียงพอกับฤดูกาลได้ ฤดูหนาวไม่ค่อยเป็นอุปสรรคต่อการขี่จักรยานในเมืองไทยเท่าไหร่...
-
หมดปัญหาจากฤดูกาล,ความขี้เกียจ
และหาแรงบันดาลใจได้แล้ว...ใช่ว่าจะหมดทุกข์ของชาวจักรยาน
ทุกข์ต่อไปนี้เป็นทุกข์ที่หนักที่สุด แก้ยากที่สุด ทุกข์นั่นคือ
ทุกข์จากการจราจรบนถนนเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ ส่งผลต่อชีวิตของชาวจักรยานได้เลย
แต่ก็ใช่จะหมดหนทางหาความสุขและความปลอดภัยจากการจราจรได้...
-
ปัญหาการจราจรนี้แก้ได้โดยเราเอง เช่น
ฝึกซ้อมจนร่างกายแข็งแรงมีทักษะการบังคับรถที่ดี
จักรยานก็ควรอยู่ในสภาพที่เหมาะสมกับสภาพถนน..การใช้สัญญาณมือในการขับขี่ได้อย่างถูกต้องถูกเวลา
เพื่อที่จะได้ให้ผู้ที่ใช้ยานพาหนะอื่น ได้เข้าใจทิศทางการเคลื่อนที่ของเรา
-
เสื้อผ้าก็ควรให้มีสีสันสะดุดตา,ชวนมอง ยวดยานชนิดอื่นจะได้มองเห็นเราแต่ไกล
สรุปได้ว่าเครื่องแตงแต่งกายให้ดูดีเข้าไว้ ใครจะว่าเราไม่ได้ว่า “ขี่จักรยานกระจอก”
-
รองเท้าหุ้มส้น,หมวกนิรภัย,ก็จำเป็นใส่แล้วจะดูดีมากในสายตาชาวบ้าน ถือคติ “แต่งตัวเต็มยศ แต่งรถยศครึ่ง”
คือทุกอย่างพร้อมที่จะบังคับรถได้อย่างมีความสุข
-
ที่จะลืมไม่ได้อีกอย่างก็คือ
เราต้องปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัดแล้วคุณจะปลอดภัย
ต้องจำไว้ว่า
“ไม่มียานพาหนะใดๆจะปลอดภัย100%”
-ปัญหาอีกอย่างที่ชาวจักรยานมักจะพบตามถนนทั่วๆไปโดยเฉพาะตามตรอก-ซอยต่างๆ
สิ่งนั้นคือหมา น้องหมาที่ไล่เห่าชาวจักรยานโดยมากจะเป็นหมาที่มีเจ้าของครับ
หมาจรจัดจะไม่เห่าไล่แถมหมาจรจัดยังเป็นมิตรกับชาวจักรยานซะอีก
(อาจจะมีเป็นบางตัวเท่านั้นที่ไล่เห่าพวกเรา)
-
วิธีไล่น้องหมาพวกนี้ ข้อสำคัญคือต้องไม่ปั่นเร่งให้เร็วขึ้น(มันจะยิ่งสนุกใหญ่)
ควรปั่นให้ช้าลงไม่ก็รักษาความเร็วเท่าเดิมเอาไว้ ทำใจดีสู้หมา
ถ้าเราไม่กลัวมัน..มันจะกลัวเราครับ
-
การปั่นหนีหากไม่มั่นใจจริงๆว่าจะหนีพ้น อย่าทำครับ
รถล้มไปจะอันตรายกับตัวเองด้วยซ้ำ
-
กระบอกน้ำที่พกอยู่เอาขึ้นมาฉีดก็เป็นวิธีที่ดี
แต่ต้องมั่นใจว่าเราสามารถทำได้คล่องแคล่วว่องไว ไม่งั้นรถล้มไป....จะอายหมา...
-
-
หากคุณเป็นคนประเภทรักหมา
อาจนำขนมต่างๆติดตัวไปด้วยเวลามันเห่าก็โยนให้มันกิน...ผมเองทำแบบนี้มา
จนเดี๋ยวนี้ได้หมาเป็นเพื่อนเต็มเลยครับ
-
-
จะอย่างไรก็ตาม ที่อ่านมาทั้งหมดนี้เป็นเพียงเสี้ยวของประสบการณ์ของผมคนเดียวเท่านั้น
หากต้องการที่ต้องการจะได้ความรู้ เทคนิคด้านต่างๆให้มากขึ้นแล้ว
ผมขอแนะนำให้ใช้วิธีนี้ครับ
-
หาเพื่อนที่ปั่นมาก่อนเรามีประสบการณ์ปั่นมากกว่าเรา มาปั่นด้วย
ไม่ก็เซาะแสวงหาชมรม,ทีมกลุ่มปั่นต่างๆที่มีมากมาย แล้วก็ขอเข้าเป็นสมาชิกของกลุ่มนั้นๆ
แต่ขอให้เลือกสักนิดว่า
กลุ่มนั้นเขามีลักษณะการปั่นเป็นอย่างไรเช่นปั่นเร็ว,ปั่นเข้าป่า-ภูเขา,ปั่นเที่ยวใกล้ๆ,ปั่นเที่ยวไกลๆ
,ปั่นไม่มากแต่ชอบแต่งรถ,ปั่นไปกินไป...มากมายไปหมด ต้องดูให้ดีๆนะครับ..อย่าลืมว่า”เรามาปั่นหาความสุข”
-
-
ถึงตรงนี้แล้วคิดว่าพอที่จะเป็นแนวทางหาความสุขจากการขี่จักรยานได้บ้างแล้วนะครับ..
พอจะสรุปอีกครั้งได้ว่า
-
ถึงตรงนี้แล้วคิดว่าพอที่จะเป็นแนวทางหาความสุขจากการขี่จักรยานได้บ้างแล้วนะครับ..
พอจะสรุปอีกครั้งได้ว่า
“เราควรหาเพื่อน กลุ่ม ชมรมต่างๆ
ที่เลือกแล้วว่าเหมาะกับเรา แล้วก็หาความรู้จากคนที่เขาขี่มาก่อนและขอคำแนะนำ
เรื่องต่างๆที่เราอยากรู้เกี่ยวกับจักรยานตั้งแต่การเลือกซื้อฯลฯ”
และที่สำคัญที่สุดที่อยากจะทิ้งท้ายไว้ตรงนี้ก็คือ
“ความสุขในการปั่นก็คือความพอดีแก่ตนเอง
โดยไม่เบียดเบียนครอบครัว เพื่อนมนุษย์”
“อย่าไปกังวลกับข้ออ้างต่างๆที่ทำให้เราไม่ได้ปั่นจักรยาน
ทุกเรื่องที่คุณอ่านมาแล้วทั้งหมดคุณสามารถลืมมันได้ในทันทีและก็ออกมาปั่นๆๆๆๆ
โดยไม่ต้องกังวลเรื่องอื่นใด ขออย่างเดียวคือขอให้ออกมาปั่นจักรยานเท่านั้นคุณก็ได้รับชัยชนะแล้วครับ”
อาคเนย์ ปัญจเทพ
05-06-2554 14.30น